วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 00:01 น. ข่าวสดออนไลน์
สิ้น "วรพล พรหมิกบุตร" นักวิชาการต้านเผด็จการ
วงประชาธิปไตยลดธงอาลัย รศ.ดร. วรพล พรหมิกบุตร
อาจารย์และอดีตคณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ นักวิชาการคนแรกๆ ที่ออกแนวหน้าต้านรัฐประหารวันที่ 19 ก.ย. 2549
ร่วมเป็นวิทยากรและร่วมกิจกรรมต่อต้านปฏิวัติมาโดยตลอด
รวมถึงช่วงชุมนุมใหญ่ของ นปช. ตกเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับพ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลังขึ้นปราศรัยให้คำแนะนำกับประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุม และเรียกร้องรัฐบาลไม่ควรใช้อำนาจเกินเลย
ถูกควบคุมตัว 7 วัน ก่อนได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีการตั้งข้อหา
เป็นเป้าสำคัญของ ศอฉ. รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ล่าสุด แสดงความเห็นคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่ง ระบุ การเคลื่อนไหวผลักดันให้ผ่านในวาระที่ 2 และ 3 ถือเป็นการฝ่าฝืนหลักนิติรัฐ นิติธรรม และฝ่าฝืนอุดมการณ์ประชาธิปไตย
เกิด พ.ศ.2499 ศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย
ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทสังคม วิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต ธรรม ศาสตร์ และสาขาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา ปริญญาเอกสาขาและสถาบันเดียวกัน
เป็นอาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษย วิทยา ธรรมศาสตร์ และเป็นคณบดีระหว่างธ.ค. 2544 ถึง พ.ย. 2547
ช่วงหลังยังร่วมกิจกรรมกลุ่มวันอาทิตย์ สีแดงที่แยกราชประสงค์
ทั้งเป็นวิทยากรโรงเรียนการเมือง นปช. ที่วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง
เขียนบทความ การเมืองไทยปลาย 2556 เผยแพร่ในเว็บไซต์ประชาไทเป็นระยะ
บทความ กองทัพประชาชนแห่งประเทศไทย เป็นงานเขียนชิ้นสุดท้าย
ล่วงไปแล้ว ฝากไว้การต่อสู้เพื่อประชา ธิปไตยให้คนต้านเผด็จการสานต่อ
นักวิชาการ-นปช.ร่วมอาลัย "รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร" เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 22:27:58 น.
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่ศาลาจุลละทรัพย์ ศาลา 14 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ บางเขน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศงานรดน้ำศพ รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร อายุ 56 ปี อดีตคณบดี และอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะนักวิชาการกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ที่เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลว ว่ามีบรรดาญาติพี่น้อง เพื่อนนักวิชาการ นักการเมือง และแกนนำ นปช.และมวลชน นปช. เดินทางมาร่วมพิธีรดน้ำศพอย่างเนืองแน่น ทั้งนี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานทำพิธีรดน้ำศพ
ดร.พิชิต ลิขิตสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า รู้สึกเสียใจอย่างมากต่อการจากไปของอาจารย์วรพล เพราะเป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพและร่วมอุดมการณ์เดียวกัน ซึ่งคุณูปการของอาจารย์วรพลมีมากนานัปการ อีกทั้งยังถือเป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ตั้งแต่สมัยก่อนการรัฐประหาร 2549 และยังเป็นผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการต่อสู้ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มากกว่านั้นยังเป็นนักวิชาการที่ยืนหยัดเคียงข้างประชาชนโดยเสมอ
"อาจารย์วรพล เป็นนักวิชาการที่กล้าต่อต้านต่อความไม่เป็นประชาธิปไตย โดยไม่กลัวอันตรายใดๆ อาจารย์วรพล จะใช้ความรู้ความสามารถของเขาที่มีในการถ่ายทอดความรู้ ให้กับบรรดานักศึกษา และบรรดามวลชนด้วย ไม่ว่าจะเวทีเล็กใหญ่อย่างไร เขาก็ยินดีไปถ่ายทอดความรู้เสมอโดยไม่เหน็ดเหนื่อย" ดร.พิชิตกล่าว
---------------------------------------------------------------------------------
อ.วรพล พรหมิกบุตร เสียชีวิตจากอาการหัวใจวายเฉียบพลัน
รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร อดีตคณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสียชีวิตแล้วช่วงเย็นวานนี้ (12 พ.ย.) จากโรคหัวใจวายเฉียบพลัน หลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลภูมิพล โดยญาติจะทำพิธีรดน้ำศพในช่วงบ่ายวันนี้ (13 พ.ย.) ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
สำหรับประวัติของ รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร เป็นมหาบัณฑิตสาขาสังคมวิทยารุ่นแรกๆ ของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเคยดำรงตำแหน่งคณบดี ระหว่างเดือน ธ.ค. 2544 - พ.ย. 2547
ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 รศ.ดร.วรพล เป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ออกมาเคลื่อนไหว ต่อต้านในเรื่องนี้ และร่วมขึ้นเวทีนปช. อีกทั้งยังเคยถูกออกหมายจับฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินในปี 53 อีกด้วย
---------------------------------------------------------------------------------
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 13 พฤศจิกายน 2556 02:31 น |
รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร นักวิชาการของกลุ่ม นปช.หัวใจวายเฉียบพลัน เสียชิวิตที่ รพ.ภูมิพล ด้วยวัย 56 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 19.45 น. วันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร นักวิชาการของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสียชีวิตลงแล้วด้วยวัย 56 ปี จากโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ขณะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลภูมิพล ซึ่งจะจัดพิธีรดน้ำศพ ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ศาลา 5
สำหรับ รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร เป็นที่ปรึกษาหนังสือพิมพ์ไทยเรดนิวส์ อดีตคณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ระหว่างเดือน ธ.ค. 2544 ถึง พ.ย. 2547 และเป็นมหาบัณฑิตสาขาสังคมวิทยารุ่นแรกๆ ของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปีการศึกษา 2525) เคยเขียนหนังสือเรื่อง “ทฤษฎีความเป็นกลางของสื่อสารมวลชน : ข้อเสนอ ความคิดเชิงสังคมวิทยา” ในโครงการตะเกียงรั้ว เมื่อปี 2540 เป็นการประมวลความคิดและข้อเสนอเชิงวิชาการ เกี่ยวกับภาวะความเป็นกลางของสื่อสารมวลชน
ภายหลังนายวรพลได้ขึ้นเวทีกลุ่มคนเสื้อแดง ร่วมขับเคลื่อนตั้งแต่ครั้งเวทีแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ซึ่งมี นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ และนายจักรภพ เพ็ญแข เป็นแกนนำ ก่อนเปลี่ยนชื่อมาเป็น นปช.เรื่อยมาจนถึงการชุมนุมที่ผ่านฟ้า ราชประสงค์ สนับสนุนการปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเคยแจ้งความดำเนินคดีแก่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและคณะ ข้อหาปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หลังศาลพิจารณาเห็นสมาชิกรัฐสภาแก้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนุญมาตรา 291 ขัดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามมาตรา 68
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 19.45 น. วันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร นักวิชาการของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสียชีวิตลงแล้วด้วยวัย 56 ปี จากโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ขณะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลภูมิพล ซึ่งจะจัดพิธีรดน้ำศพ ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ศาลา 5
สำหรับ รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร เป็นที่ปรึกษาหนังสือพิมพ์ไทยเรดนิวส์ อดีตคณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ระหว่างเดือน ธ.ค. 2544 ถึง พ.ย. 2547 และเป็นมหาบัณฑิตสาขาสังคมวิทยารุ่นแรกๆ ของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปีการศึกษา 2525) เคยเขียนหนังสือเรื่อง “ทฤษฎีความเป็นกลางของสื่อสารมวลชน : ข้อเสนอ ความคิดเชิงสังคมวิทยา” ในโครงการตะเกียงรั้ว เมื่อปี 2540 เป็นการประมวลความคิดและข้อเสนอเชิงวิชาการ เกี่ยวกับภาวะความเป็นกลางของสื่อสารมวลชน
ภายหลังนายวรพลได้ขึ้นเวทีกลุ่มคนเสื้อแดง ร่วมขับเคลื่อนตั้งแต่ครั้งเวทีแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ซึ่งมี นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ และนายจักรภพ เพ็ญแข เป็นแกนนำ ก่อนเปลี่ยนชื่อมาเป็น นปช.เรื่อยมาจนถึงการชุมนุมที่ผ่านฟ้า ราชประสงค์ สนับสนุนการปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเคยแจ้งความดำเนินคดีแก่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและคณะ ข้อหาปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หลังศาลพิจารณาเห็นสมาชิกรัฐสภาแก้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนุญมาตรา 291 ขัดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามมาตรา 68
---------------------------------------------------------------------------------
ปราศรัยครั้งสุดท้าย ของ รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร
************************************************************************
อ.วรพล พรหมมิกบุตร เป็นนักวิชาการกลุ่มแรก ๆ ที่ออกมาคัดค้านการรัฐประหาร 19 กย 49 ในขณะที่นักวิชาการไทยส่วนใหญ่สนับสนุน พธม ไปก่อนหน้านี้ ผมได้คุยกับ อ.ล่าสุดตอนที่ไปกินแมคที่ราชประสงค์ครั้งก่อน แล้วแกชวนผมไปยื่นหนังสือที่พรรคเพื่อไทย แต่ผมไม่ได้ไป ผมขอแสดงความเสียใจต่อมิตรสหายและครอบครัวของ อ.มา ณ ที่นี่ด้วย ต่อการสูญเสียในครั้งนี้ ภาระกิจที่ อ.ได้ร่วมไว้เป็นหน้าที่ของคนที่ยังอยู่ได้สานต่อเจตนารมณ์ ปชต ของ อ.ครับ
สมบัติ บุญงามอนงค์
บ่ายวันอาทิตย์ที่๑๐ พ.ย. ผมกับดร.วรพล ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ที่โรงเรียนนปช. วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ผมพูดก่อน พอเสร็จ รีบไปเมืองทองธานี โดยไม่คิดว่าวันนั้น เห็นท่านเป็นครั้งสุดท้าย ดร.วรพลเป็นนักวิชาการคนแรกๆที่ขึ้นเวที นปก.สนามหลวง หลับเถิดอาจารย์ ภารกิจต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย พวกเราจักสานต่อ
Jaran Ditapichai
ผมเพิ่งทราบข่าว อาจารย์วรพล พรหมิกบุตร เสียชีวิตแล้ว น่าเสียดายมาก เพิ่งเจอกันที่งาน บก.ลายจุด ต่อต้านนิรโทษกรรมเหมาเข่ง ที่ร้านแม็ค เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคมนี้
ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวท่านด้วยครับ
ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มีนักวิชาการเพียงสองคนที่เขียนบทความคัดค้านพวกพันธมิตรเสื้อเหลืองที่กำลังขับไล่นายกฯทักษิณ เขียนกันเป็นประจำต่อเนื่องหลายเดือน คนหนึ่งก็คือผมเอง เขียนในคอลัมน์ "มองมุมใหม่" วันพฤหัส ที่กรุงเทพธุรกิจรายวัน และอาจารย์วรพล เขียนในคอลัมน์วันพุธ ที่กรุงเทพธุรกิจเหมือนกัน แต่ตอนนั้นเรายังไม่ได้เจอกัน ต่างคนต่างเขียนวิพากษ์วิจารณ์พวกพันธมิตรในเวลานั้นว่า จะนำเอาระบอบเผด็จการเข้ามา และก็เป็นความจริง
มาเจอกันหลังรัฐประหาร ปลายปี 2549 ท่านมาชวนให้ตั้งคณะนักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยและสันติวิธี ตอนนั้นมีอาจารย์สุธาชัย และอาจารย์วสันต์ ลิมป์เฉลิมเข้าร่วม ทำเวทีเสวนา แสดงจุดยืนต้านรัฐประหารหลายครั้งด้วยกัน ทั้งที่โรงแรมรอแยล และขึ้นเวทีสนามหลวงของกลุ่มคนวันเสาร์ด้วย
ตอนที่ นปก. เดินขบวนไปหน้าบ้านสี่เสาฯของพล อ.เปรมในวันที่ 22 กรกฎาคม 2550 แล้วเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ มวลชนโดนก๊าซพริกไทย อาจารย์วรพลได้ออกไปสังเกตุการณ์และก็โดนก๊าซพริกไทยด้วย
หลังจากการเลือกตั้งปี 2550 ก็ไม่ได้เจอกันมากนัก ตอนเหตุการณ์เมษาเลือดปี 2552 และชุมนุมใหญ่มีนา-พฤษภา 2553 ท่านก็ไปขึ้นเวที นปช.ด้วย หลังจากสลายการชุมนุม ก็โดนออกหมายจับ จนต้องไปมอบตัว สุดท้าย จนท.ก็ไม่ดำเนินคดี
วันนี้ เราสูญเสียนักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตยคนสำคัญไปหนึ่งคน ขอบคุณที่ได้ร่วมเส้นทางกันจนถึงวันนี้!
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
---------------------------------------------------------------------------------
วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2553
วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2553
No comments:
Post a Comment