2020-01-14

ระฆังดังเพราะคนตี อยากมีงานดีต้องเพิ่มสกิล : อัพเดตทักษะที่จำเป็นในปี 2020


เผลอแป๊บเดียวตอนนี้เราก็เข้าสู่ทศวรรษใหม่กันแล้ว วันเวลาที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วยังมาพร้อมกันกับการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ทำให้มนุษย์ต้องคอยอัพเดตทักษะในการทำงานเพื่อตามให้ทันความฉลาดของ A.I. พวกนี้ด้วย

‘Reskill & Upskill’ คือ สองคำที่ได้ยินกันบ่อยๆ ในยุคนี้ คนทำงานจะไม่สามารถทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ ไปตลอดได้ แต่ยังต้องคอยขวนขวายหาความรู้นอกเหนือจากศาสตร์สาขาที่ตัวเองเรียนมา เพราะเทคโนโลยีที่อัพเดตอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ทักษะที่เรามีไม่ตอบโจทย์กับสิ่งต่างๆ รอบตัวที่เปลี่ยนแปลงไป และหากเราอัพเดตไม่ทันก็จะเกิดเป็น ‘skill gap’ คือ ทักษะที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรนั่นเอง

The MATTER ได้รวบรวม ‘Hard Skills’ และ ‘Soft Skills’ ที่คนทำงานควรรู้ในปี ค.ศ.2020 นี้ มาอัพเดตให้ทุกคนได้เตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนผ่านสู่ทศวรรษใหม่กัน

Hard Skills
เรียกอีกอย่างว่า ทักษะด้านวิชาชีพ เป็นความรู้หรือเทคนิคที่นำไปใช้ในการทำงาน สามารถเรียนรู้กันได้ ซึ่ง hard skills ที่จำเป็นสำหรับปี ค.ศ.2020 นี้ มีหลักๆ ด้วยกัน 6 ทักษะ ได้แก่

1.สื่อสารภาษาต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะการสื่อสารด้วยภาษาต่างชาติเป็นหนึ่งในสกิลที่สำคัญมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา และในทศวรรษนี้ก็จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นไปอีก การสื่อสารด้วยภาษาต่างชาติในยุคนี้ต้องสามารถทำได้ครบทั้งฟัง-พูด-อ่าน-เขียน โดยเฉพาะทักษะการพูดและฟังที่จะช่วยเพิ่มความก้าวหน้าในเส้นทางการทำงานได้เป็นอย่างดี

2.ความว่องไวในการพิมพ์งานเพิ่มขึ้น

แม้เราจะคิดว่าตัวเองมีความสามารถในการพิมพ์งานได้ไวแล้ว แต่ในยุคนี้เราต้องเร็วมากขึ้นไปอีก! โดยเฉพาะสายงานข่าวหรืองานออนไลน์คอนเทนต์ที่ในปีนี้จะมีการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น การเสิร์ฟคอนเทนต์หรือข่าวที่กระชับ เข้าใจง่าย และรวดเร็ว จึงเป็นอีกทักษะที่หลายองค์กรต้องการ

3.ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้หลากหลาย

ในยุคที่มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนการทำงานแบบ annual สิ่งที่จำเป็นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทักษะภาษาต่างชาติก็คือ การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้คล่องแคล่ว และหลากหลาย แม้ว่าบางคนจะไม่ได้เชี่ยวชาญ หรือจบการศึกษามาจากสายเทคโนโลยี แต่นี่คือสกิลที่ต้องมีการ ‘upskills’ และไม่ใช่แค่ทักษะจำเป็นในปี ค.ศ.2020 แต่หลังจากนี้ การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะกลายเป็นทักษะที่ทุกคนต้องมี

4.เติมความรู้ในศาสตร์สาขาอื่นๆ ให้ตัวเอง

‘นี่คือยุคของการข้ามศาสตร์’ หลายคนน่าจะเคยได้ยินประโยคนี้กัน เพราะการบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์เป็นสิ่งที่หลายองค์กรต้องการ แน่นอนว่าความเชี่ยวชาญหรือการเป็น ‘expert’ ในศาสตร์สาขาก็ยังมีความจำเป็นอยู่ แต่ในขณะเดียวกันการเรียนรู้องค์ความรู้ด้านอื่นๆ ก็นับเป็นของที่ต้องมีในยุคนี้ด้วย

5.ทักษะการผลิตวิดีโอ

มีผลสำรวจออกมาว่า มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตราวๆ 70% เลือกบริโภคเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอ ทำให้วิดีโอกลายเป็นสื่อหลักสำหรับบริษัทโฆษณามากมาย ผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายวิดีโอ และงานโปรดักชั่นอย่างการตัดต่อ เขียนสคริปต์ และการจัดองค์ประกอบภาพ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับงานสื่ออย่างยิ่ง

6.ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน STEM (Science/Technology/Engineering/Mathematics)

คือทักษะด้านการอ่าน เขียน และคิดวิเคราะห์แบบคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถบูรณาการความรู้ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และทักษะด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งทั้งหมดจะสามารถนำไปต่อยอดสู่การประกอบอาชีพในอนาคตได้

Soft Skills
ถ้า hard skills ทำให้เราได้งานทำ ส่วนที่จะช่วยรักษางานจนกระทั่งถึงวันที่ประสบความสำเร็จในองค์กรนั้นๆ ได้ก็คือ ทักษะ soft skills นี่แหละ soft skills ที่โดดเด่นและน่าจับตามองในปีนี้มีอยู่ 8 อย่าง

1.ความคิดสร้างสรรค์

‘creativity’ ไม่ได้ใช้กับแค่สายงานอาร์ตเท่านั้น แต่ความคิดสร้างสรรค์ในที่นี้ยังหมายถึงการพัฒนาไอเดียใหม่ๆ ตลอดเวลา เพื่อนำไปสู่ทางออกใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาด้วย

2.ความฉลาดทางอารมณ์

คือ การฝึกการควบคุมอารมณ์ และการแสดงออก รวมถึงสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานในที่ทำงานด้วย ‘emotional intelligence’ นอกจากจะช่วยให้ชีวิตการทำงานราบรื่นแล้ว ยังนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตพาร์ตอื่นๆ ได้เหมือนกัน

EQ กับ IQ อันไหนสำคัญกว่ากัน?
คุณหรือเพื่อนร่วมงานใครมีEQหรือIQมากกว่า
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ EQ และ IQ แบบเร็วๆ กันดีกว่าว่ามันคืออะไร ก่อนที่จะมาแยกแยะกันว่าต่างกันอย่างไร และสำคัญแค่ไหน

สำหรับ EQ นั้นย่อมาจาก Emotional Quotient (อ่านว่า โคว้ เฉิ่น)
หรือความฉลาดทางอารมณ์ คือส่วนความสามารถทางอารมณ์
ดำเนินการทำงาน การใช้ชีวิตได้ดีแค่ไหน

ส่วน IQ นั้นย่อมาจาก Intelligence Quotient
หรือความฉลาดทางเชาว์ปัญญา คือส่วนความสามารถทางความคิด การคำนวน การเชื่อมโยงต่างๆ เวลาทำงานหรือเรียนรู้สิ่งต่างๆ นั่นเอง

แล้วสิ่งไหนสำคัญกว่ากันระหว่าง EQ กับ IQ เมื่ออยู่ในที่ทำงาน?
ในปัจจุบัน EQ นั้นมีบทบาทในที่ทำงานที่ค่อนข้างสำคัญมากขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะเนื่องจาก

#ความเห็นอกเห็นใจ – คนที่มีระดับ EQ สูงนั้นมักจะมีความเห็นอกเห็นใจหรือเอาใจใส่เพื่อนร่วมทีม ลูกน้องในแผนกมากกว่าซึ่งใครก็ตามที่อยู่ในตำแหน่งหัวหน้าการเอาใจใส่กับน้องๆ ในทีมในแผนกเป็นสิ่งสำคัญพอๆ กับงานในแผนกเลยทีเดียว

#ความน่าเชื่อถือ – การมี EQที่สูงย่อมมีความมั่นคงทางอารมณ์ที่สูงขึ้นตามไปด้วยทำให้เวลาอยู่ในสถานการณ์ต่างๆจะสามารถระงับอารมณ์ตนเองได้ดีและดูน่าเชื่อถือกว่าซึ่งส่วนนี้สำคัญสำหรับคนที่เป็นถึงระดับหัวหน้าขึ้นไปในการนำทีมหรือดำเนินงานให้สำเร็จ

#ความมั่นใจ – การที่มี EQ ที่มั่นคงส่งผลให้การตัดสินใจ การเลือกเส้นทางต่างๆ มีความเด็ดเดี่ยวมากขึ้น หรือไม่โอนเอียงหรือเปลี่ยนการตัดสินใจไปมานั่นเอง

เมื่อรู้แล้วว่า EQ นั้นสำคัญต่อการทำงานในปัจจุบันมากขนาดนี้

แล้วเราจะพัฒนา EQ ของตัวเองอย่างไรให้ดีขึ้น???

#เปลี่ยนคิดลบให้เป็นคิดบวก – เริ่มจากการเปลี่ยนความคิดแย่ๆ แง่ลบต่างๆ ทั้งกับตัวเองและคนรอบตัวให้เป็นคิดบวก เช่นเราทำงานพลาดไปชิ้นนึง แทนที่จะโทษตัวเองว่าห่วยแตก ให้คิดว่าเราจะทำอย่างไรให้ดีกว่านี้

#การกำจัดความเครียด – เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างมากในการรักษาอารมณ์ให้ตัวเองสมดุล เช่น การออกกำลังกาย การยืดเส้นยืดสายพักระหว่างเวลาทำงานล้วนช่วยลดความตึงเครียดได้และยังช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นด้วย หากเจอแต่ปัญหาเราก็จะมีแต่ความเครียดใช่มั้ยล่ะ อ่านเรื่องเล่าวิธีคิดและรับมือกับความเครียดในการทำงาน

#จดโน๊ตการทำงาน – หลังจากเลิกงานกลับบ้านลองหาเวลาซักนิดจดทบทวนงานที่ทำไปในวันนี้ ทำทุกวันแล้วย้อนกลับไปอ่านเมื่อถึงสุดสัปดาห์ แล้วจะทำให้เรารู้ว่าเราต้องพัฒนาตัวเองตรงจุดไหนบ้าง

#พูดคุยกับคนอื่น – การมีมนุษย์สัมพันธ์เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญในการช่วยให้ EQ ของเรานั้นตื่นตัวและอารมณ์ดีขึ้น ฉะนั้นพยายามพูดคุยกับคนอื่นเวลาพักเที่ยง หรือเมื่องานหนักก็ขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างบ้าง แม้ว่าเรารู้แล้วว่า EQ นั้นมีความสำคัญแค่ไหนในปัจจุบัน แต่มันไม่ได้แปลว่าเราจะมองข้ามความสำคัญของ IQ ไปได้ เพราะ IQ นั้นยังเป็นส่วนสำคัญในการการเรียนรู้ – คือสิ่งที่ทำให้ IQ ของเรากว้างไกลได้มากที่สุดยิ่งมีความรู้ในสิ่งต่างๆ หรือในสิ่งที่ตัวเองสนใจเป็นพิเศษจะทำให้เราเรียนรู้งานได้เร็วขึ้น และทำงานได้เต็มที่กว่า และยังทำให้เรามีความชำนาญเฉพาะทางอีกด้วย

#การคิด – เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยให้ IQ ของเราได้วิ่งได้ขยับอยู่ตลอดเวลา ช่วยให้เราจัดลำดับงานสำคัญมากไปน้อย เร่งด่วนกับไม่เร่งด่วน และยังเป็นส่วนสำคัญสำหรับงานแทบทุกงานที่ต้องใช้ความคิดด้วย เมื่อรู้แล้วว่าในปัจจุบัน EQ นั้นมีส่วนสำคัญมากขึ้น เพราะการแสดงอารมณ์ ความรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ ต่อคนรอบตัวคือสิ่งพื้นฐานของ EQแต่ถ้าพัฒนาให้ดีขึ้นเราก็จะสามารถควบคุมตัวเองและรู้ถึงสถานะของตัวเองได้ดีขึ้นด้วย และ IQ นั้นยังคงขาดไม่ได้เนื่องจาก IQ นั้นในบางสายอาชีพที่ต้องการ IQ ระดับสูงในการทำงาน เช่นอาชีพ หมอ หรือทนายความ และในงานฝีมือส่วนใหญ่ที่ล้วนต้องใช้ความคิด วิเคราะห์แทบจะตลอดเวลา ฉะนั้นการมี EQ และ IQ ที่สมดุลกันได้จะช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

3.ทัศนคติที่เติบโตและยืดหยุ่นทัศนคติที่เติบโตและยืดหยุ่น หรือ ‘growth mindset’  เป็นความสามารถในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ความเต็มใจที่จะปรับความคิดให้เข้ากับสถานการ์และการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
4.ทักษะในการถ่ายทอดและเล่าเรื่อง

ทักษะการเรียบเรียงหรือจัดระเบียบข้อมูล สามารถนำมาถ่ายทอดให้กับเพื่อนร่วมงานฟังได้อย่างครบถ้วน และเข้าใจในสารที่เราตั้งใจจะสื่อได้สมบูรณ์

5.ตระหนักถึงวัฒนธรรมองค์กร

มีความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์ทั้งในแง่การทำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร โดยผู้พูดต้องมีความเข้าใจในภูมิหลังส่วนบุคคล และวัฒนธรรมองค์กรในภาพใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.เพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในสายอาชีพ

การเรียนรู้ข้ามศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญ แต่ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านก็ยังจำเป็นเหมือนกัน การเป็น ‘specialist’ จะทำให้เราสามารถไปต่อในสาขาอาชีพนั้นๆ ได้ตรงตามเป้าหมายได้ไวมากขึ้น

7.ทักษะการเจรจาต่อรอง-โน้มน้าวใจ

การเจรจาต่อรองเป็นหนึ่งในทักษะที่ค่อนข้างยาก และต้องการประสบการณ์ในระยะหนึ่ง แต่ก็นับเป็นทักษะที่สำคัญมากๆ ทักษะการพูดโน้มน้าวใจยังรวมไปถึงการเสนอขายงานลูกค้า, การเจรจาธุรกิจ ซึ่งทักษะนี้มนุษย์อาจทำได้ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่า A.I.

8.ทักษะการคาดการณ์ความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุด

ในยุคที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือดแบบนี้ การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภคได้จึงเป็นสิ่งที่หลายบริษัทต้องการมาก ขึ้นชื่อว่าการคาดการณ์ก็คงจะไม่ถูกไปซะทุกครั้ง ทักษะนี้ต้องอาศัยทั้งประสบการณ์ และความเข้าใจต่อกลุ่มลูกค้า รวมถึงคอยอัพเดตเทรนด์ฮิตอยู่เสมอๆ


อ้างอิงข้อมูลจาก

No comments: