นักเขียน Douglas Coupland เขียนว่า “เวลาที่คุณรู้สึกเดียวดายคือเวลาที่คุณควรอยู่กับตัวเองมากที่สุดบางทีชีวิตเป็นส่วนผสมของการอยู่กับคนอื่นและการปลีกวิเวก เพียงแต่เราควรรักษามันให้สมดุล และ ‘สมดุล’ ของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน สมดุลของนาย ก. อาจมีส่วนอยากเข้าสังคม 90% ส่วนอยากอยู่คนเดียว 10% สมดุลของนาย ข. อาจมีส่วนอยากเข้าสังคม 10% ส่วนอยากอยู่คนเดียว 90%
หนังและเพลงในโลกมักสร้างภาพว่าคนไร้เพื่อนไร้คู่อยู่คนเดียวต้องหงอยเหงา หากไม่มีใครรู้ใจ ก็ต้องหงอยเหงาไปตลอดชีวิต แต่ความจริงไม่ใช่ภาพอย่างที่หนังและเพลงวาดไว้เสมอไป
เพราะความโดดเดี่ยว (being alone) เป็นเรื่องทางกายภาพ ความหงอยเหงา (being lonely) เป็นเรื่องภายในความหงอยเหงาอาจมาจากการไม่มีเพื่อนรู้ใจ เข้าใจ อ่านใจเราได้
บางทีไม่มีใครสามารถอยู่คนเดียวหรืออยู่กับคนอื่นได้ตลอดเวลา ต่อให้เป็นหมาป่าวิเวก ก็ยังต้องซมซานกลับไปหาเพื่อนพ้องผู้คนบางทีเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม สัญชาตญาณนี้ฝังในยีนของเรา ต่อให้เราอยากอยู่คนเดียว ก็มีบางช่วงที่เราไม่อยากอยู่คนเดียว
แต่ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ที่แก้ปัญหาความหงอยเหงาเปล่าเปลี่ยวได้ดีที่สุดก็คือตัวเราเอง เพราะเราไม่อาจแก้ความหงอยเหงาได้ด้วยการผูกตัวเองกับคนอื่น
ดังนั้นอาจจะดีหากเราฝึกที่จะจัดการกับความหงอยเหงาด้วยตนเอง เช่นที่เราไม่ควรพึ่งยาเพื่อให้บางทีเมื่อเข้าใจความหงอยเหงาว่าเป็นเพียงสภาวะทางใจที่เราสร้างขึ้นเอง เราอาจปล่อยวางมันได้ง่ายขึ้น
(บางท่อนจากหนังสือ รอยยิ้มใต้สายฝน)
1 comment:
ขอบคุณที่อ่านจนจบ แวะมาอีกนะคะ
Post a Comment