2018-07-31

คิดอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น” … จริงหรือ?

คิดอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น” … จริงหรือ?
คำพูดที่ว่า คิดอย่างไร ก็ได้อย่างนั้นเป็นคำพูดที่เกี่ยวข้องกับความคาดหวังของคนในสังคม ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งด้านดีและร้าย ขึ้นอยู่กับว่าคาดหวังอะไร ลองมาพิจารณาดูกันว่า ในมิติทางจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์ ข้อความนี้จะเป็นจริงได้หรือไม่

คำพูดที่ว่า “คิดอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น” เป็นคำพูดติดปากของสังคม ที่จริงแล้ว ในทางเศรษฐศาสตร์ (รวมถึงอีกหลายศาสตร์) ก็มีคำอธิบายที่มาที่ไปของคำนี้เอาไว้
Self-fulfilling Prophecy ซึ่งมีความหมายเป็นภาษาไทยว่า คิดอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น แท้จริงแล้วหมายถึง การคาดการณ์อันเป็นสาเหตุให้สิ่งที่คาดการณ์นั้นๆ เป็นจริงขึ้นมาภายหลัง โดยอาจจะการคาดการณ์ทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้
[เคยมีตำนานหนึ่งของกรีกที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ ผู้ชายคนหนึ่งเฝ้าหลงรักรูปปั้นผู้หญิง จึงทะนุถนอมและให้ความรัก ราวกับเป็นผู้หญิงจริงๆ จนเทพบนสวรรค์รู้สึกเห็นใจและเสกรูปปั้นนั้นมีชีวิตขึ้นมาจริงๆ ถูกนำมาอ้างอิงว่าเป็นที่มาของแนวคิดนี้]
นักสังคมวิทยาชื่อ Robert K.Merton ดูเหมือนว่าจะเป็นคนแรกๆ ที่นำเอาคำนี้มาใช้ โดยยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า ถ้าเราเชื่ออย่างผิดๆ อยู่เสมอว่าชีวิตสมรสของเราจะล่ม ความกลัวที่อยู่ในใจของเราจะส่งผลต่อพฤติกรรม จนทำให้มันล่มจริงๆ เข้าในสักวันหนึ่ง
……….
กระบวนการที่ก่อให้เกิด Self-fulfilling Prophecy เรียกว่า Pygmalion Effect เกี่ยวข้องกับการกระทำของพวกเราแต่ละคน ได้ก่อให้เกิดความคาดหวังจากคนอื่นในสังคม จนเป็นการกระทำของพวกเขาเหล่านั้น และนำมาซึ่งความคาดหวังของตัวเราเองด้วยเช่นกัน
“Pygmalion Effect” (ที่มาของภาพ)



บทประยุกต์ทางเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับ Self-fulfilling Prophecy มักจะเกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ราคาสินค้าและราคาสินค้าที่เกิดขึ้นจริงตามมา

ตัวอย่างแรก เช่น หากคนในสังคมอยู่ในภาวะสงคราม หรือสถานการณ์ภัยพิบัติ พวกเขาย่อมคาดการณ์ว่า สินค้าจะขาดแคลนและราคาจะสูงขึ้น จากนั้นทุกคนก็จะกักตุนสินค้า ส่งผลให้สินค้าขาดแคลน และนำมาซึ่งราคาที่สูงขึ้นจริงๆ สุดท้ายแล้ว ราคาสินค้าไม่ได้สูงขึ้นเพราะสงครามหรือภัยพิบัติ แต่สูงขึ้นเพราะทุกคนคาดการณ์ไปในทางเดียวกัน
ตัวอย่างที่สอง ในทางตรงกันข้าม หากคนในสังคมคาดการณ์ว่าสินค้าอาจจะลดราคาลง พวกเขาก็จะชะลอการซื้อ จนในที่สุดราคาสินค้าก็ต้องลดลงมาจริงๆ แต่ถ้าทุกคนยังคงรอไปเรื่อยๆ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในญี่ปุ่น ดัชนีราคาสินค้าในญี่ปุ่นลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ชาวญี่ปุ่นก็ยังคงชะลอการซื้อต่อไป เพราะยิ่งลดราคา ก็ยิ่งทำให้ประชาชนคาดการณ์ว่าพรุ่งนี้ ราคาจะถูกลงไปกว่าวันนี้  ผลก็คือสินค้าขายไม่ออกจริงๆ จนสุดท้ายนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจแทน [ไม่ต่างไปจากถ้าเราคิดว่าธนาคารจะล้ม เราก็จะแห่กันไปถอนเงิน ผลก็คือธนาคารจะล้มจริงๆ ไม่ใช่ธนาคารล้มเพราะไม่มีประสิทธิภาพ แต่ล้มเพราะคนไปถอนเงินพร้อมๆ กัน]

[นอกจากนี้ ความกลัวผิดหวังอันเป็นสามัญสำนึกของมนุษย์นั้น จะส่งผลให้การคาดการณ์ในทางดีมีจำกัด แต่การคาดการณ์ในทางร้ายไม่จำกัด นั่นคือ หากคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจะดี ถึงจุดหนึ่งการคาดการณ์จะหยุดลง แต่หากคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะแย่ กลับจะไม่มีจุดสิ้นสุด]
ที่น่าสนใจก็คือ ประเด็นของ คิดอย่างไร ก็ได้อย่างนั้นมันสามารถเป็นจริงได้ ถ้าสังคมร่วมกัน และทำให้เรารู้ว่า การบริหารจัดการเศรษฐกิจให้ดีได้จำต้องบริหารจัดการความคาดหวังด้วย เช่นหากจะทำให้เศรษฐกิจดีก็ต้องทำให้ประชาชนเชื่อว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น
ไม่ต่างจากในช่วงที่เกิดภัยธรรมชาติ หากเราซื้อหาสินค้าเท่าที่จำเป็น สินค้าก็จะไม่ขาดแคลนและราคาจะไม่สูงขึ้น รวมถึงทุกคนก็จะมีเพียงพอ เช่นเดียวกันกับ ถ้าเราทุกคนเชื่อว่าเราจะผ่านมันไปได้อย่างเข้มแข็ง เราก็จะผ่านไปได้ด้วยกัน ขอเอาใจช่วยผู้ประสบภัยทุกคนค่ะ
*******************************
อันนี้เป็นมุขขำ

แต่เรื่องจริงคือ "คิดอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น” 
ใน the secret กฎแห่งแรงดึงดูด อธิบายได้แม่นมากๆๆๆ
หรือแม้แต่คำสอนของหลวงปู่ชา ที่ว่า
...... 
เธอจงระวังความคิดของเธอ
เพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ
เธอจงระวังความประพฤติของเธอ
เพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ
เธอจงระวังความเคยชินของเธอ
เพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ
เธอจงระวังอุปนิสัยของเธอ
เพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต
( หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง )


No comments: