โจน จันได วัย 45 ปี ชาวยโสธร
ขณะนี้บ่มเพาะ ความฝันอยู่บนดอย
ใน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
ที่ศูนย์เรียนรู้ เพื่อการพึ่งตนเอง
และ ศูนย์เก็บเมล็ดพันธุ์ พันพรรณ
จากประสบการณ์การใช้ชีวิต 7 ปี อยู่กรุงเทพฯ
2 ปี ในสหรัฐ อเมริกา ยึดอาชีพล้างจานและยามเป็นหลัก
วันหนึ่งค้นพบตัวเองว่า เกษตรกรไทย
ทำงานเพื่อใช้หนี้ มากกว่าเลี้ยงตัวเอง
“ชาวนาไทย ขณะนี้ทำนาปีละมากกว่า 2
ครั้ง
ต่างจากเดิม ที่บรรพบุรุษทำปีละ 2 ครั้ง
นี่บ่งบอกว่า เกษตรกรกำลังทำงาน อย่างหนัก
แต่ค่าแรง ที่ได้ก็ไม่พอใช้จ่ายต้องเสียเงินค่ายา
ค่าปุ๋ย ต่าง ๆ นานามากมาย
จนเกิด คำถามว่า วันนี้เราทำงานเหนื่อยหนักเพื่อใคร..?”
โจน จันได เล่าเรื่องราวชีวิตที่เหมือนว่าได้ค้นพบวิถีใหม่ให้กับชีวิต
ที่ งานกรีนแฟร์ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาฯ เมื่อ 2 ปีก่อน
ชีวิตมันเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่เราทำให้มันยากเอง..." จาก โจน จันได
โจน จันได หรือที่หลายคนรู้จักเขาในนาม "โจน บ้านดิน" คนจนผู้ยิ่งใหญ่จากรายการ เจาะใจ เมื่อหลายปีก่อน มาวันนี้ เขาคือผู้เชี่ยวชาญในการสร้างบ้านดินของประเทศไทย
โจน จันได เป็นผู้ปลุกกระแสบ้านดินให้ฟีเวอร์ในปัจจุบัน เขาเดินทางไปรอบโลกเพื่อนำเสนอแนวทางในการสร้างบ้านดิน โดยเรียนรู้ชีวิตผ่านประสบการณ์ตรงนอกระบบการศึกษา
จนแตกแขนงออกเป็นเครือข่ายคนสร้างบ้านดินในทุกวันนี้
เดิมที โจน จันได เกือบจะได้เป็นนักกฎหมาย เมื่อครั้งจากบ้านที่ยโสธรเข้ามาร่ำเรียนศาสตร์สาขานิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่กรุงเทพมหานคร เขาใช้ชีวิตอยู่วัด กินข้าววัด และทำงานพิเศษเพื่อหาเงินค่าเล่าเรียนเอง
แต่แล้วลูกอีสานคนนี้ ก็ตัดสินใจทิ้งอนาคตนักกฎหมาย และลาสังคมเมืองที่หลายคนหลงใหล ด้วยเหตุว่าถามหาความสุขที่แท้จริงให้ชีวิตไม่เจอ
!?!
ย้อนกลับไปวัยเด็ก แม้ลมหายใจแรกของเขาจะเคยได้พบกับคำว่า “พึ่งตัวเอง” จากวิถีชีวิตพออยู่พอกินของหมู่บ้านเล็กๆ
ในจังหวัดยโสธร แต่กระแสการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆ
เกิดขึ้น กลับทำให้คนที่เติบโตในครอบครัวชาวนามีความอับอายในชีวิตที่เป็นอยู่ และตัดสินใจพาตัวเองห่างออกจากความเป็นอยู่เดิม
โดยมุ่งหน้าไปยังชีวิตที่ “ศิวิไลซ์” เหมือนๆ
กับคนส่วนมากในสมัยนั้น
จากที่จะไม่ได้เรียนหลังจากจบชั้นประถมศึกษาเนื่องจากครอบครัวไม่มีเงินส่งเสีย
เขายอมโกนหัวบวชเณร ณ วัดธรรมมงคล ย่านสุขุมวิท พร้อมๆ กับเข้าไปเรียนต่อโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่สัมพันธวงศ์ศึกษา
จนจบระดับ 5 (เทียบเท่ากับมัธยมปลายในปัจจุบัน)
ก่อนจะลาสิกขาออกมาเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมๆ กับการทำงานหาเงิน
ทั้งพนักงานเสิร์ฟตามร้านอาหาร ไปจนถึงพนักงานทำความสะอาดในโรงแรมต่างๆ
แต่แล้วความต่างของวิถีชีวิตก็ทำให้เขาเริ่มตั้งคำถามกับชีวิตที่เป็นอยู่ เวลาในแต่ละวันของเขาหมดไปกับการทำงานหนักๆ
ให้ได้สิ่งตอบแทนที่เรียกว่า “เงิน” เพียงเพื่อมาจ่ายค่าเช่าบ้าน
ทั้งที่ตัวเองมีบ้านโดยไม่ต้องเช่า มาจ่ายค่าอาหารได้เพียงมื้อละจาน เพื่อประทังชีวิตไปวันๆ
และมาจ่ายค่าเดินทางไปกลับระหว่างห้องพักกับที่ทำงาน ทั้งๆ ที่เขาสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้จากผืนดินของบ้านตัวเอง
"แต่ก่อนตอนอยู่กรุงเทพฯ ผมรู้สึกว่าตัวเองไม่มีเวลา แม้แต่จะไปเยี่ยมพ่อแม่ ผมยังรู้สึกว่าตัวเองไม่มีเวลา ในที่สุด ผมก็ถามตัวเองว่า ผมรีบไปไหน ผมทำงานให้ใคร ในเมื่อผมทำงานแทบเป็นแทบตายแล้วตัวเองไม่มีอยู่ไม่มีกิน แล้วผมจะทำไปให้ใคร พอมาคิดดู ผมรู้สึกแย่มากที่ไม่ได้ทำอะไรให้ตัวเองเลย ผมทำงานให้คนอื่นตลอด ทำแทบเป็นแทบตายเพื่อไปจ่ายค่าเช่าบ้าน ทำแทบเป็นแทบตายเพื่อไปจ่ายค่าข้าวมื้อละจาน ทำแทบเป็นแทบตายเพื่อที่จะมีเงินไปซื้อเสื้อผ้า มีเงินเพื่อจ่ายค่ารถเมล์ แต่มีอะไรบ้างที่ผมทำเพื่อตัวเอง ไม่มีเลย ทำทั้งปีทั้งชาติ เงินก็ไหลออกไหลออก ทำแล้วไม่ได้อะไร ผมจะทำไปทำไม
ผมก็เลยกลับบ้านที่ยโสธร คราวนี้ผมทำเพื่อตัวเองทั้งหมดเลย ผมอยากกินผัก
ก็ปลูกผัก อยากกินปลา ก็เลี้ยงปลา ทำแค่นี้ก็เลี้ยงคนอื่นได้ แม่ น้อง และหลานของผม
พวกเขามีอาหารกินเหลือเฟือ ความง่ายมันอยู่ตรงนี้ (เน้นเสียง) ผมมาใช้ชีวิตแบบนี้มันเหลือกินเลย
แต่ผมไปทำงานอยู่กรุงเทพฯ ตั้ง 7 ปี ทำแทบตายก็กินไม่เคยอิ่ม
พอมาอยู่อย่างนี้มันคิดได้ว่าชีวิตมันง่ายแค่นี้เอง ทำงาน 30 นาทีต่อวัน แต่เลี้ยงคน 6 คนได้ แต่ 8 ชั่วโมงต่อวันในกรุงเทพฯ กลับเลี้ยงคนๆ เดียวไม่ได้"
7 ปีในกรุงเทพฯ กับชีวิตที่ยากและไม่ได้เรียนรู้อะไร
ทำให้เขาตัดสินใจออกจากชีวิตที่ทำงานหนักๆ “เพื่อคนอื่น”
กลับบ้านเกิด ที่ยโสธร และพาตัวเองคืนสู่สามัญ เริ่มต้นวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายที่เขาคุ้นเคยในวัยเด็ก
โดยใช้ชีวิตแบบ “พึ่งตัวเอง” และ
“เพื่อตัวเอง”
จากที่เคยทำงานในกรุงเทพฯ วันละ 8 ชั่วโมง แต่เลี้ยงคนๆ เดียวแทบไม่ได้ ก็เหลือเพียงวันละ
30 นาที ซึ่งสามารถเลี้ยงคน 6 คนได้สบายๆ และวิถีชีวิตเช่นนั้น
ยังเปิดโอกาสให้คนธรรมดาๆ คนหนึ่งมีโอกาสได้เรียนรู้การพึ่งตัวเองในเรื่องที่อยู่อาศัย
1 ในปัจจัย 4 อย่าง “บ้านดิน”
“ทุกวันนี้คนกว่าจะได้บ้านหลังหนึ่ง
ต้องทำงานเก็บเงินเป็นยี่สิบสามสิบปี แสดงว่าแย่มาก อาหารก็แพงขึ้น และไม่มีความปลอดภัยเลย
เราไม่รู้ว่าเขาเอาอะไรมาให้เรากิน
การพัฒนาที่เป็นอยู่ ชีวิตที่คนทุกวันนี้เป็นอยู่เป็นสิ่งที่หาสาระไม่ได้เลยเราทำไปด้วยความงมงาย
ด้วยความไม่รู้เรื่องรู้ราว ทำชีวิตให้ยากขึ้นๆ ๆ ๆจนลืมไปว่าชีวิตเกิดมาทำไม ครอบครัวเป็นยังไง
มีความสำคัญยังไง
ธรรมะคืออะไร ความสุขเป็นยังไง ไม่มีใครสอนเลย
คนมีแต่ซื้อๆๆๆ เพื่อให้มีความสุข แต่ความจริงเป็นอย่างนั้นมั้ย?
“คนบอกว่าอยากมีเสรีภาพ ต้องมีโทรศัพท์มือถือ
ต้องมีอะไรมากมาย และจะมีเสรีภาพอย่างที่เขาโฆษณา แต่ความจริงมันคือเสรีภาพจริงๆ มั้ย?
มนุษย์ต้องหาเงินเป็นแสนเป็นล้านเพื่อให้มีบ้านสักหลัง
ขณะที่ นก หนู สามารถทำรังได้ในวันเดียว
“เมื่อมนุษย์ที่ได้ชื่อว่าฉลาดที่สุดในโลก
แต่ทำไมเราทำในสิ่งที่โง่ที่สุด”
โจนบอกว่ามันผิด ถ้ายากแสดงว่ามันผิด
“อย่างการมีอาหาร คนทำงานในเมืองวันละ 8-12 ชั่วโมง แต่ไม่พอกินสำหรับคนเดียว ทำเพื่ออะไรกัน
“อย่างการมีอาหาร คนทำงานในเมืองวันละ 8-12 ชั่วโมง แต่ไม่พอกินสำหรับคนเดียว ทำเพื่ออะไรกัน
แต่ผมทำสวนวันละ 30 นาที ผมมีอาหารเลี้ยงคน 7-8 คนได้สบาย
ง่ายมากเลย นี่คือความง่าย”
“บางคนซื้อเสื้อผ้าตัวละเป็นพันสองพัน ทำงานกี่เดือนถึงจะได้เสื้อ
ทำไมต้องทำให้มันยาก เราหลอกตัวเอง เราทำให้ชีวิตมันยากขึ้นๆ อย่าลืมว่าคนเรามีชีวิตไม่ยาวนักบนโลกนี้
อีกไม่นานก็ตายแล้ว แต่ทำไมเราเอาเวลาที่มีค่าสูงสุดมาทำสิ่งไร้สาระไม่เป็นประโยชน์กับตัวเรา
“ใส่เสื้อผ้าสวยๆ รู้สึกยังไง ใส่เสื้อผ้าสวยแค่ไหน
คนไม่สวยก็ไม่สวยเหมือนเดิม ไม่มีดั้งก็ไม่มีเหมือนเดิม เราหลอกตัวเอง หลอกคนอื่นทำไม"
“อยากให้เห็นว่าชีวิตเป็นเรื่องง่ายๆ ถ้าง่ายไม่ได้
มีความสุขไม่ได้
ความง่ายก็คือสิ่งที่เราได้มาโดยไม่ยากและก็ไม่เป็นทุกข์”
ความง่ายก็คือสิ่งที่เราได้มาโดยไม่ยากและก็ไม่เป็นทุกข์”
"ชีวิตคนเราง่าย
ๆ อย่าคิดให้ยาก
เมื่อเราคิดยากเมื่อไหร่
ชีวิตจะทุกข์มากขึ้น ๆ
อยู่กับปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดตามที่เราฝัน
ชีวิตก็เท่านี้เอง"
โจน จันได มนุษย์บ้านดินคนแรกของเมืองไทย
ผู้มีแนวความคิดในการดำรงชีวิตที่ดูแปลกแยก
เขายึดหลัก"ความง่าย"
ไม่ได้เห็นความสุขเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะความสุขมักจะคู่กับความทุกข์ ...โจน จันไดมองเช่นนั้น
*************************************************************
*************************************************************
No comments:
Post a Comment