ก๊าซเรือนกระจก ที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของโลกร้อน แบ่ง 4 กลุ่ม
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดจาก
การเผาไหม้ในหลายรูปแบบ เช่น การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม ในรถยนต์ ในการหุงต้ม
การเผาป่า เพื่อใช้พื้นที่อยู่อาศัย หรือทำการเกษตร หรือเผาหญ้าเผาฟางหลังการเก็บเกี่ยว
การทำปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การทำฟาร์ม
2. กาซมีเทน (CH4) เกิดจากการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ เช่น
จากกทำนาข้าว หรือพืชที่ขังน้ำ และปศุสัตว์ (เลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่เป็นฟาร์ม)
การเผาไหม้ของซากพืชหรือสัตว์
การใช้งานโดยมีการเผาไหม้ของถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ
3. กลุ่มของสารประกอบ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs)
จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การใช้เป็นสารสำหรับทำความสะอาดอุปกรณ์ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า วงจรคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนรถยนต์
เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้เป็นสารหล่อเย็นในตู้เย็น, เครื่องปรับอากาศ
ของใช้ประจำวัน เช่น ใช้เป็นสารขับดันในเครื่องกระป๋องที่เป็นสเปรย์ มูซ, ใช้เป็นส่วนประกอบพลาสติกที่เป็นโฟมใส่อาหารกล่อง ใส่เป็นวัสดุกันกระเทือนในบรรจุภัณฑ์, กลุ่มพลาสติกที่เป็นตัวดูดซับในผ้าอนามัย ผ้าอ้อมเด็ก เป็นต้น
4.กาซ ไนตรัส ออกไซด์ (NO)
การย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ โดยแบคทีเรียที่ใช้กรดไนตริกเป็นขบวนการผลิต เช่นในอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยในลอน อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมพลาสติก
มีก๊าซจำนวนมากที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน และถูกจัดอยู่ในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีทั้งก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือ ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน มีเทนและไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซี เป็นต้น แต่ ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 6 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (anthropogenic greenhouse gas emission) เท่านั้น ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ สารซีเอฟซี (CFC หรือ Chlorofluorocarbon) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้ว
กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ กำลังเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ (อาจยกเว้นไอน้ำ) การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติรวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การทำการเกษตรและการปศุสัตว์ปล่อยก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ปล่อยก๊าซโอโซน นอกจากนี้ กระบวนการแปรรูปอุตสาหกรรมปล่อยสารฮาโลคาร์บอน (CFCs, HFCs, PFCs)
การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกนั้น ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศมีความสามารถในการกักเก็บรังสีความร้อนได้มากขึ้น ผลที่ตามมาคือ อุณหภูมิเฉลี่ยของชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นด้วย แต่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกนั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดยังมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก (Global Warming Potential: GWP) ที่แตกต่างกัน ค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนนี้ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการแผ่รังสีความร้อนของโมเลกุล และขึ้นอยู่กับอายุของก๊าซนั้นๆ ในบรรยากาศ และจะคิดเทียบกับการแผ่รังสีความร้อนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น 20 ปี 50 ปี หรือ 100 ปี โดยค่า GWP ของก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ในช่วงเวลา 100 ปี ของก๊าซเรือนกระจกต่างๆ เป็นดังนี้
กาซที่มีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโรคร้อนสูง มักหนัก เคลื่อนตัวช้า แต่เมื่อถูกพัดพากระจายไปถึงชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกร้อนมกกว่านับพันนับหมื่นเท่า
No comments:
Post a Comment