2015-08-26

คดีกรุงไทย ...

" คุณยาย อยากให้เล่าข่าวในแบบภาษาชาวบ้าน ๆ "
" ค่ะ งั้นเล่าแบบรวบรัด กระชับนะ พิมพ์มือถือ ลำบากแท้ ยายแก่แล้ว "
1 กฤษดานครติดแบลคลิสต์ ไม่มีสิทธิกู้ ในวงการการเงิน ใครๆก็รู้
2 กฤษดานคร จึงตั้งบริษัทใหม่ใช้ชื่ออื่นมากู้ เพื่อไปทำโปรเจ็ค อภิมหาอลังการ ตามที่คิดขึ้นมาได้
3 กู้ตั้งเกือบหมื่นล้าน แต่ผ่านง่ายๆ ?? ไม่มีสงสัย ?? ตั้งบริษัทใหม่มากู้ มุขง่ายๆแค่นี้ คนเก่งๆ โคตรเก่งในกรุงไทยไม่รู้ ???

4 การสอบสวนพบว่าหลังจากปล่อยกู้ผ่าน มีการโอนเงินบางส่วน กระจายไปยังตระกูลนักการเมืองชื่อดัง รายละหลักสิบล้าน
5 เงินที่กู้ได้ ไม่ได้มีการนำไปใช้ตามโครงการที่ขอกู้ แต่เอาไปทำห่าไรก็ไม่รู้
6 หากจะฟ้องปกติขึ้น 3 ศาลรอ 15 ปี ขักช้าไม่ได้การ ฟ้องเป็นคดีนักการเมืองดีฝ่ามีศาลเดียว เกิดเหตุปี 51 รอจังหวะ รอนั่น รอนี่ พออะไรพร้อมเหมาะสมลงตัว ฟ้องในปี 55 ตัดสิน 58 อย่างไวรวดเร็วทันใจ
7 คนที่ถูกฟ้อง แบ่งเป็น 3 พวก
A พวกนักการเมือง แหลกสินบน ค่าอำนวยความสะดวกแปะเจี๊ยะ สั่งให้ปล่อยกู้?? หรือสั่งให้ผ่าน ??? มีผลประโยชน์ในเงินก้อนนี้ ???
B คนของกรุงไทย ใคร ทีมไหนมีอำนาจ เสนอ ชงส่งเรื่อง อนุมัติ ฟ้องหมด
C ตัวต้นเหตุ ลูกค้าที่ขอกู้ แบบไม่ซื่อ ไม่ตรง
8 ศาลเก็บผลตัดสินเป็นความลับไว้อย่างดี จำเลยที่มา ไม่คาดคิดว่า โพรไฟล์ระดับตรู ไม่ควรจะได้รับโทษจองจำ ถึงกับติดคุก 12 ปี 18 ปี พอศาลตัดสินแบบนี้ จึงตกใจ เสียใจ สลดใจ ร้องไห้กันระงม
..... จำเลยแต่ละคนมีทั้ง เกียรติประวัติ เกียรติยศ อนาคต ชื่อเสียง คุณงามความดี เงินทองมากมาย มีผลงานดีเด่นระดับมันสมองของชาติ แต่ชีวิตที่เหลือฤาจะต้องมานอนรอความตายในคุก เพราะอายุก็มากๆกันแล้ว
ปล. คำถาม ... ก็เห็นกันอยู่ว่า เรื่องนี้ คดีนี้ นักการเมือง นายแบงค์ ผิดจริงๆ ผิดชัดๆ แล้วจะมาดราม่าการเมืองทำไม???
ตอบ ... ดราม่าตรงที่ มีคนอยากเห็นคดีของนักการเมืองฝั่งตรงข้าม ตัดสินคดี ให้เร็ว ให้ไว ให้ว่อง ชี้เป็นชี้ตาย ชี้หงายชี้คว่ำ แบบคดีนี้น่ะสิ
ทำได้ก็ดีนะ ... ลดความรู้สึกสองมาตรฐาน ... ลดความแตกแยก .... เอานักการเมืองคอรัปชั่นและคนร่วมมือ เข้าคุกมากๆๆๆ ประเทศชาติจะได้เจริญ

Cr:
Phawinee Buraphawithidham

อยากรู้ว่า ใครถือหุ้นมากสุด ของ 
 ในตอนนี้ อ่านเลยค่ะ

ข้อมูลลับความเชื่อผู้บริหาร "เอคิว" ก่อนศาลฯ พิพากษาชดใช้กรุงไทยหมื่นล.!


จำแนกจำเลย-โทษเรียงตัวคดีกรุงไทย ไขปริศนา? ไฉนไม่มีชื่อ“พานทองแท้”
ฟอกเงินกู้กรุงไทยของโอ๊คพานทองแท้


=====================================================================

คดีกรุงไทย หลอน "ทักษิณ-โอ๊ค" จุดตาย เช็ค 10 ล้านเข้าบัญชี


    
   

     ในที่สุด คนในตระกูล ชินวัตร ก็ต้องตกเป็นจำเลยในชั้นศาลขึ้นมาอีกคน หลังอัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง โอ๊ค-พานทองแท้ ชินวัตร ในคดีปล่อยกู้กรุงไทย ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ เมื่อวันพุธที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่ต้องจับตาดูหลังจากนี้ว่า สุดท้ายแล้ว ชะตากรรมของ พานทองแท้ จะซ้ำรอยบิดา-ทักษิณ ชินวัตร และอายิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ถูกศาลยุติธรรมตัดสินลงโทษจนต้องหนีคดีไปต่างประเทศหรือไม่?
     ที่น่าสนใจคือ ผลพวงจากคดีปล่อยกู้กรุงไทย ทำให้ สองพ่อลูก ทักษิณ-พานทองแท้ อยู่ในสภาพเดียวกัน คือตกเป็นจำเลยในชั้นศาล จากเรื่องปล่อยกู้กรุงไทยยุคทักษิณเป็นนายกฯ หลังก่อนหน้านี้อัยการปัดฝุ่นยื่นฟ้องทักษิณเป็นจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ไปเมื่อปีที่แล้ว ในความผิดฐานมีส่วนรู้เห็นกับการทุจริตปล่อยกู้เงินร่วม 9,900 ล้านบาทให้กับกลุ่มบริษัทในเครือกฤษดามหานคร ที่มีสองพ่อลูก วิชัย-รัชฎา กฤษดาธานนท์ ที่มีความมักคุ้นกับทักษิณ เป็นเจ้าของ-ผู้บริหาร อันเป็นการฟ้องคดีตามช่องทางที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาฯ เปิดช่องให้ฟ้องคดีได้ หากจำเลยหลบหนีคดีและไต่สวนคดีลับหลังจำเลยได้
     แต่มาตอนนี้ไม่ใช่แค่ทักษิณเท่านั้น แต่ลูกชายพานทองแท้ก็ตกเป็นจำเลยในคดีปล่อยกู้กรุงไทยเช่นกัน เพียงแต่เป็นคนละฐานความผิด เพราะพานทองแท้โดนเรื่อง ความผิดฐานฟอกเงิน หลังจากทาง ปปง.ส่งเรื่องให้ดีเอสไอสอบสวนและทำสำนวนสั่งฟ้องพานทองแท้กับเครือญาติของนางกาญจนาภา หงษ์เหิน อดีตเลขานุการส่วนตัว หญิงอ้อ-พจมาน ณ ป้อมเพชร มารดาพานทองแท้
     ทั้งนี้ แนวทางการสอบสวนของ ปปง.-ดีเอสไอ ได้แกะรอยเส้นทางการเงินของผู้เกี่ยวข้องรวมสี่คน คือ นางเกศินี จิปิภพ มารดานางกาญจนาภา, นางกาญจนาภา และวันชัย หงษ์เหิน สามีนางกาญนาภา รวมถึงพานทองแท้ โดยแกะรอยการทำธุรกรรมทางการเงินและการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ หลังจากเงินกู้กรุงไทยถูกปล่อยสินเชื่อออกมา จนพบว่ามีธุรกรรมการเงินเป็นเช็คสองใบ คือ 26 ล้านบาท และ 10 ล้านบาท เข้าไปยังบัญชีของกลุ่มผู้ต้องหาโดยเฉพาะเข้าบัญชีพานทองแท้สองครั้ง
     ก้อนแรกเกิดขึ้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2546 ที่มีการโอน แคชเชียร์เช็คจำนวนเงิน 26 ล้านบาท จากธนาคารไทยธนาคาร โดยหักจากเงินในบัญชีของนายวิชัยสั่งจ่ายและนำเงินเข้าบัญชีนายพานทองแท้ที่ธนาคารกรุงเทพฯ แต่วันเดียวกันก็มีการยกเลิกรายการ จากนั้นวันรุ่งขึ้นมีการซื้อแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายบริษัทหลักทรัพย์ธนชาติ เพื่อชำระค่าหุ้นในบัญชีซื้อขายของนางเกศินี จิปิภพ แล้วนางเกศินีได้สั่งจ่ายเช็คจำนวน 1 ล้าน 8 แสนบาท เข้าบัญชีนายพานทองแท้ ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารัชโยธิน
     เงินก้อนที่สอง พบการทำธุรกรรม เมื่อ 17 พ.ค.2547 นายวิชัยสั่งจ่ายเช็คธนาคารไทยธนาคาร จำนวน 10 ล้านบาท เข้าบัญชีเงินฝากพานทองแท้ ที่เป็นบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาบางพลัด ซึ่งก่อนหน้านี้พานทองแท้อ้างว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินจากการทำธุรกิจซื้อขายรถหรูกับนายรัชฎา
จนสุดท้ายเมื่อดีเอสไอส่งสำนวนมายังอัยการ ทางอัยการใช้เวลาพิจารณาอยู่พอสมควร จนมีการเลื่อนสั่งคดีมาแล้วรอบหนึ่ง พร้อมกับการให้ดีเอสไอสั่งสอบสวนเพิ่มเติม โดยแยกสำนวนตามหลักฐานการโอนเงินดังกล่าว สองก้อน ออกเป็น 2 สำนวน
     ซึ่งในส่วนของพานทองแท้ถูกอัยการยื่นฟ้องเพียงสำนวนเดียวคือ กรณีเงิน 10 ล้านบาทที่โอนเข้าบัญชีในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงินและสมคบกันฟอกเงิน และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ขณะที่สำนวนเช็ค 26 ล้านบาท อัยการสั่งฟ้องกาญจนาภาและวันชัย โดยพานทองแท้รอดในสำนวนหลัง
     ก่อนหน้านี้ศาลฎีกาฯ เคยตัดสินจำคุกอดีตผู้บริหารกรุงไทยและกฤษดามหานคร เช่น ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ, วิโรจน์ นวลแข, วิชัยและรัชฎา กฤษดาธานนท์ เป็นเวลาหลายปี อันเป็นคำตัดสินที่คงทำให้ทักษิณพานทองแท้ ที่ตกเป็นจำเลยในเรื่องปล่อยกู้กรุงไทยเช่นกัน คงผวาไม่น้อย โดยเฉพาะ พานทองแท้ กับหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชี ที่เป็น "จุดตาย” ของคดีนี้.

1 comment:

Warina P. said...

ขอบคุณคุณยายค่ะ เล่าได้ เข้าใจง่าย ๆ