2013-11-03

ปฏิบัติการเปิดโปง NSA ของเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน

ปฏิบัติการเปิดโปง NSA ของเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน
3 พฤศจิกายน 2013
ชาญชัย คุ้มปัญญา
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์สถานการณ์โลกไทยโพสต์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6208 วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ..2556, http://www.ryt9.com/s/tpd/1768782
และได้รับการเผยแพร่ผ่าน “US Watch” โดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ, http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/article/detail.php?article=1807

              (National Security Agency หรือ NSA) ได้ทยอยเปิดเผยข้อมูลลับของ NSA

เพิ่มคำอธิบายภาพ
เป็นเวลาหลายเดือนแล้วที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตเจ้าหน้าที่ซีไอเอและสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ
            การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวกลายเป็นประเด็นร้อนในตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อข้อมูลชิ้นหนึ่งชี้ว่ามีผู้นำ 35 ประเทศถูกสอดแนม ประเทศเหล่านี้ประกอบด้วยประเทศที่เป็นมิตรกับสหรัฐอย่างเช่นเยอรมนี ฝรั่งเศส เม็กซิโก บราซิลและหลายประเทศในสหภาพยุโรป กับประเทศที่เป็นปรปักษ์อย่างคิวบาและเวเนซุเอลา เอกสารลับยังชี้อีกว่า NSA ร้องขอหมายเลขโทรศัพท์ผู้นำประเทศเหล่านี้จากเจ้าหน้าทำเนียบขาว กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อ NSA จะได้ทำการสอดแนม จากข้อมูลดังกล่าวย่อมแสดงว่าการดักฟังผู้นำประเทศไม่ใช่การกระทำที่เป็นกรณีพิเศษหรือเจาะจงต่อผู้นำบางประเทศหรือในบางสถานการณ์ แต่เป็นแนวทางที่ NSA ดำเนินการเป็นปกติ เกิดคำถามว่าทำไมมิตรประเทศใกล้ชิดจึงยังถูกดักฟัง
            ในเวลาไล่เลี่ยกันสื่อหลายแห่งหลายประเทศรายงานข้อมูลของนายสโนว์เดนว่าประชาชนจำนวนมากถูกดักฟังทางโทรศัพท์จนน่าตกใจ เว็บไซต์ Cryptome หรือที่นิยมเรียกกันว่า Wikileaks เปิดเผยข้อมูลว่าในช่วงระหว่างวันที่ 10 ธันวาคม 2012 ถึง 8 มกราคม 2013 NSA ดักฟังโทรศัพท์ประชาชนรวมทั้งหมด 124,800 ล้านครั้ง อัฟกานิสถานถูกดักฟัง 21,980 ล้านครั้ง ปากีสถานถูกดักฟัง 12,760 ล้านครั้ง ซาอุดิอาระเบีย 7,800 ล้านครั้ง แม้กระทั่งชาวอเมริกันยังถูกดักฟังถึง 3,000 ล้านครั้งหรือเฉลี่ยวันละ 100 ล้านครั้ง ทำให้ตัวเลขของฝรั่งเศสที่ 70 ล้านครั้งกับอิตาลีที่ 46 ล้านครั้งกลายเป็นจำนวนเล็กน้อย
            ควรตระหนักด้วยว่าข้อมูลชิ้นนี้รายงานเพียงว่ามี 14 ประเทศที่ถูกดักฟัง แท้จริงแล้วอาจมีอีกหลายประเทศที่ถูกดักฟังเช่นเดียวกัน
            การดักฟังประชาชนจำนวนมากทำให้รัฐบาลหลายประเทศในยุโรปออกโรงคัดค้านพฤติกรรมดังกล่าว คุณอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมันถึงกับกล่าวว่าห้ามจารกรรมในหมู่มิตรด้วยกันกฎข้อนี้บังคับใช้ต่อพลเมืองทุกคนในเยอรมนี
            ในประเทศสหรัฐมีการประท้วงเช่นกัน แนวร่วมประชาชน ‘Stop Watching Us’ ได้ยื่นรายชื่อจำนวน 575,000 รายชื่อแก่รัฐสภา เรียกร้องขอให้สมาชิกรัฐสภาทบทวนโครงการจารกรรมของ NSA ทั้งหมดข้อร้องเรียนต้องการปกป้องชาวอเมริกันและคนทั่วโลก

ข้อโต้แย้งการดักฟัง:
            หลังเกิดเหตุประท้วงทั้งจากภายในและภายนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง นายเจมส์ แคลปเปอร์ (James Clapper) ผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการข่าวกรอง สภาผู้แทนราษฎรว่าฝ่ายข่าวไม่ได้จารกรรมชาวอเมริกาอย่างผิดกฎหมาย ไม่ได้จารกรรมพลเมืองประเทศใดๆ โดยไม่เลือก เราจารกรรมเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการข่าวต่างประเทศที่สำคัญตามที่ได้รับอนุญาตจากกฎหมาย มีระบบการตรวจสอบหลายชั้นเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิดและยืนยันว่าเราเชื่อว่าเรากระทำสิ่งที่ถูกกฎหมาย ... เราไม่จารกรรมผู้บริสุทธิ์ทั้งชาวอเมริกันหรือพลเรือนประเทศใดๆ"
            นายพลคีธ อเล็กซานเดอร์ (Keith Alexander) ผู้อำนวยการสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติชี้แจงว่าข้อกล่าวหาที่ทางการสหรัฐดักฟังโทรศัพท์พันธมิตรในยุโรปหลายสิบล้านครั้งเป็นข้อมูลที่ผิดพลาดอย่างยิ่งอธิบายว่าการดักฟังเหล่านั้นเป็นการเก็บข้อมูลโดยพันธมิตรนาโตและประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางทหารเป็นข้อมูลที่เก็บโดยพันธมิตรนาโตและแบ่งปันข้อมูลกับเราในปฏิบัติการทางทหารที่นาโตเข้าร่วม
            การชี้แจงข้างต้นมีข้อสงสัยบางประการ เช่น ทำไมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเพิ่งให้คำอธิบายดังกล่าวหลังจากเรื่องเกิดมานานแล้ว ทำไมชาติอื่นๆ ในนาโตไม่ออกมาพูดเช่นนี้ตั้งแต่ต้น อีกทั้งคำอธิบายดังกล่าวไม่ได้ตอบคำถามว่าทำไมชาวอินเดียจึงถูกดักฟัง 6,280 ล้านครั้ง หรือที่ชาวอเมริกันยังต้องถูกดักฟังถึง 3,000 ล้านครั้ง ประเด็นเหล่านี้ยังต้องการคำชี้แจงเพิ่มเติม

ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล คุกคามความมั่นคงแห่งชาติ:
           
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นการดักฟังทั้งหมดให้ความสำคัญกับเรื่องความเหมาะสม การดักฟังผู้นำของมิตรประเทศเป็นการไม่สมควร การดักฟังประชาชนจำนวนมากเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ละเมิดสิทธิมนุษยชน
            แนวทางแก้ไขที่พูดถึงคือ รัฐบาลอเมริกันต้องหยุดการดักฟังผู้นำมิตรประเทศ และจำกัดขอบเขตการดักฟังประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ สอดคล้องกับท่าทีของทำเนียบขาว จากเดิมที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามากล่าวเมื่อเดือนกันยายนว่าอเมริกาไม่สนใจที่จะจารกรรมคนทั่วไป การข่าวของเราเน้นเป้าหมายในการค้นหาข้อมูลที่จำเป็นต่อการปกป้องประชาชนของเรา และในหลายครั้งได้ปกป้องพันธมิตรของเราล่าสุดแสดงท่าทีว่ารัฐบาลโอบามากำลังทบทวนแผนการรวบรวมข่าวกรองเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างความจำเป็นด้านความมั่นคงกับความเป็นส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นของพลเมืองอเมริกันหรือพันธมิตร
            การปรับปรุงแก้ไข การจำกัดการสอดแนมประชาชนเป็นเรื่องดีสมควรสนับสนุน แต่ต้องไม่ละเลยว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งใหญ่ที่สุดของโลก และไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องความไม่เหมาะสมทางการเมืองระหว่างประเทศเท่านั้น ควรตั้งคำถามด้วยว่าเป็นเรื่องกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติหรือไม่

กรณี The Guardian:
            นายสโนว์เดนอาศัยสื่อหลายแห่งช่วยเปิดเผยข้อมูล สื่อเหล่านี้มักจะเปิดเผยข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศตน ถึงกระนั้นยังมีประเด็นที่รัฐบาลเห็นว่าสื่อกำลังทำผิดกฎหมาย
            สื่อ The Guardian ของอังกฤษเป็นกรณีตัวอย่าง เมื่อนายเดวิด คาเมนรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษออกโรงเตือนสื่อดังกล่าวว่าห้ามเผยแพร่ข้อมูลที่ได้จากนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ถึงกับขู่ว่าจะฟ้องศาล เนื่องจากรัฐบาลไม่อนุญาตการเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ที่ทางราชการจัดว่าเป็นความลับ นายกฯ คาเมรอนกล่าวว่าผมไม่ต้องการให้ศาลออกคำสั่ง การยื่น D-Notices (ห้ามสื่อเผยแพร่) หรือมาตรการอื่นที่รุนแรงกว่านี้ ผมคิดว่าเป็นการดีกว่าที่จะร้องขอให้หนังสือพิมพ์มีความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ถ้าพวกเขาไม่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมก็ยากที่รัฐบาลจะยืนนิ่งเฉยและไม่ทำอะไร
            ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกรกฎาคม The Guardian ยอมให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านการข่าวของอังกฤษที่เรียกว่า Government Communications Headquarters (GCHQ) มาสังเกตการทำลายข้อมูลลับของ NSA ที่ได้จากนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนภายหลังที่รัฐบาลขู่ว่าจะฟ้องศาล แลกกับการที่ The Guardian สามารถนำเสนอเรื่องราวของ NSA ผ่านสำนักงานที่นิวยอร์ก
            ท่าทีของรัฐบาลอังกฤษไม่มีอะไรน่าแปลกใจ เพราะ GCHQ คือหน่วยงานข่าวกรองที่ทำหน้าที่ในลักษณะเดียวกับ NSA และที่สำคัญคือ GCHQ ของอังกฤษทำงานใกล้ชิดกับ NSA มานานแล้ว เป็นการทำงานร่วมเป็นทีม เป้าหมายคือการสอดแนมตามแบบฉบับของ NSA ในย่านยุโรปทั้งหมด หากเปิดโปง NSA เท่ากับเปิดโปง GCHQ โดยปริยาย การที่รัฐบาลสั่งห้ามเปิดเผยข้อมูลทำให้การทำงานของหน่วยงานเหล่านี้ยังคงเป็นปริศนาต่อไป ทิ้งไว้แต่คำถามว่าหากไม่มีการเปิดโปงคนนับล้านทั่วโลกจะต้องถูกสอดแนมต่อหรือไม่ ท่าทีของรัฐบาลอังกฤษขัดแย้งกับท่าทีของหลายประเทศในยุโรปหรือไม่

เพื่อการต่อต้านการก่อการร้ายเท่านั้นหรือ:
            ตลอดเวลาที่ผ่านมาทางการสหรัฐจะยกเหตุผลต่อต้านการก่อการร้ายเพื่อชี้ว่ารัฐมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบการข่าวที่ดี ทั้งที่โดยความจริงแล้วการข่าวมีมากกว่าการต่อต้านการก่อการร้าย แต่ไหนแต่ไรประเด็นความมั่นคงทางทหารคือเรื่องที่การข่าวให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง แม้ทุกวันนี้โลกไม่อยู่ในยุคสงครามเย็นแล้ว ความมั่นคงทางทหารยังเป็นเรื่องสำคัญที่สุดอยู่ดี
            ในอีกด้านหนึ่งหน่วยข่าวภาครัฐสอดแนมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางเศรษฐกิจ เช่น สนับสนุนการเจรจาต่อรอง การตัดสินใจของฝ่ายบริหาร และเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายบาย
            นายมาร์ค โลเวนทอล (Mark Lowenthal) อธิบายว่าการข่าวด้านเศรษฐกิจจะกระทำด้วยความร่วมมือใกล้ชิดระหว่างฝ่ายข่าวกรองกับภาคธุรกิจสหรัฐ ปัญหาการแบ่งปันข้อมูลแก่ภาคธุรกิจคือ ควรจะให้ข้อมูลหรือร่วมมือกับผู้ใดเนื่องจากอุตสาหกรรมหรือธุรกิจแต่ละประเภทจะประกอบด้วยหลายรายที่แข่งขันกัน การสอดแนมไม่ได้กระทำต่อรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเท่านั้น ยังกระทำต่อบริษัทเอกชน องค์กรภาคประชน จนถึงระดับปัจเจกบุคคล
            คุณวิเวียน เรดดิง (Viviane Reding) คณะกรรมาธิการยุโรปด้านการยุติธรรมของสหภาพยุโรป (European Union Commissioner for Justice) ตั้งคำถามว่าทำไมต้องฟังการสนทนาทางโทรศัพท์ของชาวยุโรปผู้บริสุทธิ์นับล้านคน นี่ไม่ใช่การต่อสู้กับลัทธิก่อการร้าย บางทีอาจเป็นการกระทำเพื่อจะได้ข้อมูลลับทางการค้าทางด้านเจ้าหน้าที่ของ NSA ตอบประเด็นนี้ว่ารัฐบาลไม่ได้ใช้ขีดความสามารถด้านการข่าวเพื่อประโยชน์ของบริษัทสหรัฐ แต่ไม่ได้ปฏิเสธว่าเราไม่สนใจข้อมูลทางเศรษฐกิจ
            NSA จะสอดแนมเพื่อประโยชน์เรื่องการเจรจาต่อรองของรัฐหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอกชนหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องค้นหาความจริงต่อไป และอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมคนนับล้านทั่วโลกจึงถูก NSA ติดตามสอดแนม

            เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นถ้าคิดแบบเรียบง่ายคือนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนเปิดเผยข้อมูลอย่างมือสมัครเล่น แต่หากคิดว่านี่คือการเปิดโปงของมืออาชีพ หากตั้งสมมติฐานว่านี่คือแผนบั่นทอนรัฐบาลอเมริกา ย่อมต้องคาดการณ์ต่อว่าเรื่องราวยังไม่จบ นายสโนว์เดนยังมีข้อมูลที่รอเปิดโปงอีก เพื่อบั่นทอนรัฐบาลอเมริกาจนถึงที่สุด
            การรีบด่วนสรุปประเด็นเรื่องราวต่างๆ จึงน่าจะเป็นโทษมากกว่า เพราะข้อสรุป ณ วันนี้อาจผิดพลาดหรือกลายเป็นเท็จเมื่อนายสโนว์เดนปล่อยหมัดเด็ดเพื่อหักล้างข้อสรุปแบบรวดรัด เช่น สมมุติว่ารัฐบาลโอบามาฟันธงว่าไม่เคยดักฟังนักธุรกิจต่างชาติเพื่อผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ นายสโนว์เดนจึงแสดงหลักฐานการดักฟังดังกล่าวเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลโอบามาอย่างรุนแรง
            ทั้งหมดนี้ชี้ว่านายสโนว์เดนยังเป็นผู้เล่นฝ่ายรุก รัฐบาลสหรัฐกับรัฐบาลอื่นๆ จำต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบ แสดงออกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของการเปิดโปง และหลายคนคงเห็นพ้องว่าควรจะพูดกับนายสโนว์เดนดังที่ผู้ประท้วงอเมริกันบางคนชูป้ายว่า “Thank You”
--------------------

บทความที่เกี่ยวข้อง:
จารกรรม สอดแนม สายลับพฤติกรรมอันดาษดื่น
การเปิดเผยเรื่องราวของนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เป็นอีกครั้งที่ทำให้สังคมโลกตระหนักว่ารัฐได้ดำเนินการจารกรรม สอดแนม สายลับอย่างต่อเนื่อง และชี้ว่าสื่อโซเชียลมีเดีย เครือข่ายสังคมออนไลน์คือช่องทางการได้ข้อมูลตามการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี พัฒนาการของสังคมโลก

บรรณานุกรม:
1. Spying on allied leaders carries big risks: Our view. USA Today. http://www.usatoday.com/story/opinion/2013/10/24/nsa-eavesdropping-foreign-leaders-angela-merkel-editorials-debates/3183277/ 24 October 2013.
2. Press TV. 21 Nations United Nations Resolution against the US for Spying on World Leaders. Global Research. 27 October 2013. http://www.globalresearch.ca/21-nations-united-nations-resolution-against-the-us-for-spying-on-woreld-leaders/5355676 accessed 29 October 2013.
3. EU leaders unite over US spying allegations. Al Jazeera. http://www.aljazeera.com/news/europe/2013/10/eu-leaders-unite-anger-over-us-spying-2013102503124552333.html 25 October 2013.
4. Leak Reveals NSA Spied on 46 Million Italian Phone Calls. Corriere della Sera.  http://www.corriere.it/13_ottobre_28/leak-reveals-nsa-spied-on-46-million-italian-phone-calls-1ae5c508-3fc7-11e3-9fdc-0e5d4e86bfe5.shtml 28 October 2013.
5. 'That's Just Not Done': Merkel Comments on Spying Allegations. Spiegel Online. http://www.spiegel.de/international/germany/merkel-comments-on-allegations-the-us-spied-on-her-cell-phone-a-929870.html 24 October 2013.
6. US protesters call for end to spying. Al Jazeera. http://www.aljazeera.com/news/americas/2013/10/us-protesters-call-end-spying-2013102621619345970.html 27 October 2013.
7. NSA chief defends its spying programs. USA Today. http://www.usatoday.com/story/news/world/2013/10/29/nsa-spying-congress-testimony/3304221/ 29 October 2013.
8. NSA chief: We didn't spy on European citizens. CBS News. http://www.cbsnews.com/8301-250_162-57609833/nsa-chief-we-didnt-spy-on-european-citizens/ 29 October 2013.
9. David Cameron makes veiled threat to media over NSA and GCHQ leaks. The Guardian. http://www.theguardian.com/world/2013/oct/28/david-cameron-nsa-threat-newspapers-guardian-snowden 28 October 2013.
10. Prime Minister threatens Guardian with legal action over 'damaging' spy leaks. Daily Mail. http://www.dailymail.co.uk/news/article-2478692/Prime-Minister-threatens-Guardian-legal-action-damaging-spy-leaks.html 29 October 2013.
11. Harris, Shane., and Hudson, John. U.S. Official Blames Shutdown for Failure to Explain NSA Spying. Foreign Policy. 28 October 2013. http://thecable.foreignpolicy.com/posts/2013/10/28/us_official_blames_shutdown_for_failure_to_explain_nsa_spying accessed 29 October 2013.
12. Readout of the President’s Phone Call with Chancellor Merkel of Germany. The White House. 23 October 2013. http://www.whitehouse.gov/the-press-office/2013/10/23/readout-president-s-phone-call-chancellor-merkel-germany accessed 25 October 2013
13. “Press Briefing by Press Secretary Jay Carney, 10/24/2013”. The White House. http://www.whitehouse.gov/the-press-office/2013/10/25/press-briefing-press-secretary-jay-carney-10242013 accessed 25 October 2013.
14. Cook, Terry L. 1999. Big Brother NSA & its Little Brother: National Security Agency's Global Surveillance Network. USA: Hearthstone Pub.
15. Lowenthal, Mark. 2009. Intelligence: From Secrets to Policy. 4th edition. USA: CQ Press.
16. Amid flood of revelations, US weighs ending spying on allied heads of state. The Washington Post. http://www.washingtonpost.com/politics/federal_government/key-senator-suggests-total-review-of-intelligence-programs-as-europe-considers-sanctions/2013/10/28/220508c8-4033-11e3-b028-de922d7a3f47_story.html 29 October 2013.
17.“EU official alleges NSA sought economic edge for U.S.” CBS News. http://www.cbsnews.com/8301-202_162-57609911/eu-official-alleges-nsa-sought-economic-edge-for-u.s/ 29 October 2013.


No comments: