ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยปีละกว่า 20 ล้านคน แต่มีนักท่องเที่ยวบางกลุ่มต้องตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ หรือได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือใช้บริการ จนเกิดการฟ้องร้องเป็นคดีความกันมากขึ้น
สำนักงานศาลยุติธรรมจึงเปิดศาลแผนกคดีท่องเที่ยว นำร่องที่ศาลจังหวัดพัทยาเป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา และได้รับผลตอบรับจากประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี โดยเฉพาะคดีเรือสปีดโบ๊ตชนกับเรือขนส่งนักท่องเที่ยวที่แหลมบาลีฮาย พัทยา ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนเสียชีวิต 2 คน ศาลได้ไกล่เกลี่ยจนได้ข้อยุติเป็นที่พอใจแก่คู่กรณีโดยใช้เวลาเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น
นอกจากนี้ จะขยายผลเปิดศาลแผนกคดีท่องเที่ยวขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญอีก 4 แห่ง ประกอบด้วย ศาลจังหวัดภูเก็ต จะเปิดทำการในวันที่ 24 กันยายน ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ศาลจังหวัดเกาะสมุย และ ศาลจังหวัดกระบี่ จะทยอยเปิดอย่างต่อเนื่อง
ส่วนที่กรุงเทพฯจะเปิดศาลแผนกคดีท่องเที่ยว 2 แห่ง คือที่ ศาลแขวงดุสิต และ ศาลแขวงปทุมวัน
ล่าสุด ทางสำนักงานศาลยุติธรรมจับมือกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ร่วมกันเปิดโครงการ "ห้องสืบพยานโดยระบบการประชุมทางจอภาพ" หรือวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยมี นายไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกา และ นายวิรัช ชินวินิจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 23 กันยายน ที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม
สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม เผยว่า ห้องสืบพยานโดยระบบการประชุมทางจอภาพนั้น ตั้งอยู่ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสารขาออก ที่บริเวณชั้น 3 โซนห้องรับรอง CIP มีอุปกรณ์ ประกอบด้วย จอโทรทัศน์ 1 เครื่อง กล้องวงจรปิด และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ พร้อมติดตั้งระบบววิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เชื่อมต่อกับศาลภูมิภาคต่างๆ
ห้องสืบพยานแห่งนี้ จะถ่ายทอดภาพและเสียงในการสืบพยานทางไกลผ่านจอภาพไปยังศาลในภูมิภาค โดยให้พยานพูดคุยกันโดยตรงกับผู้พิพากษาผ่านทางจอภาพ
"ห้องสืบพยานนี้ไม่ใช่การเปิดศาลอย่างเต็มรูปแบบ แต่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนแผนกของศาลชั้นต้นทั่วประเทศ เผื่อว่านักท่องเที่ยวเกิดคดีความแต่ไม่อยากเดินทางไปจังหวัดนั้นๆ เพราะต้องเดินทางกลับประเทศตามกำหนด หรืออาจกลัววีซ่าหมด
"แต่นักท่องเที่ยวเป็นพยานสำคัญในคดีที่พบเห็นใบหน้าคนร้ายหรืออยู่ในเหตุการณ์ด้วย หรืออาจจะเป็นผู้เสียหายเอง จึงต้องมาให้การเป็นพยานต่อศาล หากมีคดีที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวก็สามารถสืบพยานล่วงหน้าได้ทันที ไม่ว่าคดีความจะมีการฟ้องร้องกันที่ศาลไหน โดยสามารถเบิกความสืบพยานและทนายจำเลยก็สามารถซักค้านได้ด้วย" โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรมแจกแจงบทบาทของห้องสืบพยานแบบใหม่
สิทธิศักดิ์ ยังระบุว่า คำเบิกความของพยานสามารถรับฟังได้ตามกฎหมาย เป็นไปตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง รวมถึงตามระเบียบข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการสืบพยานคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พ.ศ.2556 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา
"การสืบพยานมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อทำให้ได้พยานหลักฐานของคนร้ายในคดีต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้รับการคุ้มครองและเกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของไทย เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมด้วยความสะดวกรวดเร็วและได้รับความเป็นธรรม ขณะที่กระบวนการสืบพยานจะให้ทนายความของผู้ต้องหาร่วมซักค้าน โดยจะประชุมกับสภาทนายความเพื่อจัดหาทนายความให้สำหรับผู้ที่ไม่มีทนายความ ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความคุ้มครองตามหลักสิทธิเสรีภาพ และเอื้อประโยชน์ให้นักท่องเที่ยว
"ขณะนี้ไทยกำลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี) และถือเป็นการบูรณาการของกระบวนการยุติธรรมและภาครัฐ จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและรายได้ที่จะเข้าประเทศอีกด้วย"
ส่วนล่ามในการแปลภาษาในการเบิกความของชาวต่างชาติ สิทธิศักดิ์ ระบุว่า แม้ว่าผู้พิพากษาจะสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ แต่ตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมายไทย จำเป็นจะต้องสืบพยานโดยใช้ภาษาไทยเท่านั้น ทางกองการต่างประเทศ สำนักงานศาลยุติธรรม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สามารถติดต่อหาล่ามได้ทันที พร้อมทั้งมีการจัดอบรมล่ามแปลภาษาเพื่อให้สามารถสื่อสารได้มากกว่า 1 ภาษา พร้อมทั้งมีความเป็นกลางน่าเชื่อถือได้
กรณีนักท่องเที่ยวมีเหตุจำเป็นพิเศษจะต้องเดินทางไปต่างประเทศหรือไม่มีเวลาว่างมาสืบพยานในช่วงที่ศาลเปิดทำการในเวลาราชการ เรื่องนี้ก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะหัวหน้าศาลมีอำนาจเปิดศาลนอกเวลาได้ ในวันจันทร์ถึงศุกร์ สามารถเปิดได้ถึงเวลา 20.30 น. และในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็สามารถเปิดทำการได้ แต่ทางตำรวจและอัยการจะต้องแจ้งให้ศาลทราบล่วงหน้าก่อนว่านักท่องเที่ยวคนดังกล่าวมีเหตุจำเป็นจะต้องเดินทางกลับต่างประเทศและจะขอสืบพยานไว้ล่วงหน้า เพื่อที่ศาลจะสามารถเตรียมดำเนินการใช้ห้องสืบพยานได้ทัน
โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม ปิดท้ายว่า ห้องสืบพยานที่จัดเตรียมไว้นี้ ยังเป็นห้องสืบพยานชั่วคราว แต่ในอนาคตจะใช้พื้นที่ในอาคารพิพิธภัณฑ์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สร้างเป็นห้องพิจารณาคดีเต็มรูปแบบ อยู่ระหว่างการประสานงานกับ ทอท.
"ห้องสืบพยานโดยระบบการประชุมทางจอภาพ" จึงเป็นอีกกลไกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว
และเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมไทย และอำนวยความยุติธรรมแก่ชาวต่างประเทศ
สำนักงานศาลยุติธรรมจึงเปิดศาลแผนกคดีท่องเที่ยว นำร่องที่ศาลจังหวัดพัทยาเป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา และได้รับผลตอบรับจากประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี โดยเฉพาะคดีเรือสปีดโบ๊ตชนกับเรือขนส่งนักท่องเที่ยวที่แหลมบาลีฮาย พัทยา ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนเสียชีวิต 2 คน ศาลได้ไกล่เกลี่ยจนได้ข้อยุติเป็นที่พอใจแก่คู่กรณีโดยใช้เวลาเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น
นอกจากนี้ จะขยายผลเปิดศาลแผนกคดีท่องเที่ยวขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญอีก 4 แห่ง ประกอบด้วย ศาลจังหวัดภูเก็ต จะเปิดทำการในวันที่ 24 กันยายน ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ศาลจังหวัดเกาะสมุย และ ศาลจังหวัดกระบี่ จะทยอยเปิดอย่างต่อเนื่อง
ส่วนที่กรุงเทพฯจะเปิดศาลแผนกคดีท่องเที่ยว 2 แห่ง คือที่ ศาลแขวงดุสิต และ ศาลแขวงปทุมวัน
ล่าสุด ทางสำนักงานศาลยุติธรรมจับมือกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ร่วมกันเปิดโครงการ "ห้องสืบพยานโดยระบบการประชุมทางจอภาพ" หรือวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยมี นายไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกา และ นายวิรัช ชินวินิจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 23 กันยายน ที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม
สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม เผยว่า ห้องสืบพยานโดยระบบการประชุมทางจอภาพนั้น ตั้งอยู่ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสารขาออก ที่บริเวณชั้น 3 โซนห้องรับรอง CIP มีอุปกรณ์ ประกอบด้วย จอโทรทัศน์ 1 เครื่อง กล้องวงจรปิด และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ พร้อมติดตั้งระบบววิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เชื่อมต่อกับศาลภูมิภาคต่างๆ
ห้องสืบพยานแห่งนี้ จะถ่ายทอดภาพและเสียงในการสืบพยานทางไกลผ่านจอภาพไปยังศาลในภูมิภาค โดยให้พยานพูดคุยกันโดยตรงกับผู้พิพากษาผ่านทางจอภาพ
"ห้องสืบพยานนี้ไม่ใช่การเปิดศาลอย่างเต็มรูปแบบ แต่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนแผนกของศาลชั้นต้นทั่วประเทศ เผื่อว่านักท่องเที่ยวเกิดคดีความแต่ไม่อยากเดินทางไปจังหวัดนั้นๆ เพราะต้องเดินทางกลับประเทศตามกำหนด หรืออาจกลัววีซ่าหมด
"แต่นักท่องเที่ยวเป็นพยานสำคัญในคดีที่พบเห็นใบหน้าคนร้ายหรืออยู่ในเหตุการณ์ด้วย หรืออาจจะเป็นผู้เสียหายเอง จึงต้องมาให้การเป็นพยานต่อศาล หากมีคดีที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวก็สามารถสืบพยานล่วงหน้าได้ทันที ไม่ว่าคดีความจะมีการฟ้องร้องกันที่ศาลไหน โดยสามารถเบิกความสืบพยานและทนายจำเลยก็สามารถซักค้านได้ด้วย" โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรมแจกแจงบทบาทของห้องสืบพยานแบบใหม่
สิทธิศักดิ์ ยังระบุว่า คำเบิกความของพยานสามารถรับฟังได้ตามกฎหมาย เป็นไปตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง รวมถึงตามระเบียบข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการสืบพยานคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พ.ศ.2556 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา
"การสืบพยานมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อทำให้ได้พยานหลักฐานของคนร้ายในคดีต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้รับการคุ้มครองและเกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของไทย เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมด้วยความสะดวกรวดเร็วและได้รับความเป็นธรรม ขณะที่กระบวนการสืบพยานจะให้ทนายความของผู้ต้องหาร่วมซักค้าน โดยจะประชุมกับสภาทนายความเพื่อจัดหาทนายความให้สำหรับผู้ที่ไม่มีทนายความ ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความคุ้มครองตามหลักสิทธิเสรีภาพ และเอื้อประโยชน์ให้นักท่องเที่ยว
"ขณะนี้ไทยกำลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี) และถือเป็นการบูรณาการของกระบวนการยุติธรรมและภาครัฐ จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและรายได้ที่จะเข้าประเทศอีกด้วย"
ส่วนล่ามในการแปลภาษาในการเบิกความของชาวต่างชาติ สิทธิศักดิ์ ระบุว่า แม้ว่าผู้พิพากษาจะสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ แต่ตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมายไทย จำเป็นจะต้องสืบพยานโดยใช้ภาษาไทยเท่านั้น ทางกองการต่างประเทศ สำนักงานศาลยุติธรรม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สามารถติดต่อหาล่ามได้ทันที พร้อมทั้งมีการจัดอบรมล่ามแปลภาษาเพื่อให้สามารถสื่อสารได้มากกว่า 1 ภาษา พร้อมทั้งมีความเป็นกลางน่าเชื่อถือได้
กรณีนักท่องเที่ยวมีเหตุจำเป็นพิเศษจะต้องเดินทางไปต่างประเทศหรือไม่มีเวลาว่างมาสืบพยานในช่วงที่ศาลเปิดทำการในเวลาราชการ เรื่องนี้ก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะหัวหน้าศาลมีอำนาจเปิดศาลนอกเวลาได้ ในวันจันทร์ถึงศุกร์ สามารถเปิดได้ถึงเวลา 20.30 น. และในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็สามารถเปิดทำการได้ แต่ทางตำรวจและอัยการจะต้องแจ้งให้ศาลทราบล่วงหน้าก่อนว่านักท่องเที่ยวคนดังกล่าวมีเหตุจำเป็นจะต้องเดินทางกลับต่างประเทศและจะขอสืบพยานไว้ล่วงหน้า เพื่อที่ศาลจะสามารถเตรียมดำเนินการใช้ห้องสืบพยานได้ทัน
โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม ปิดท้ายว่า ห้องสืบพยานที่จัดเตรียมไว้นี้ ยังเป็นห้องสืบพยานชั่วคราว แต่ในอนาคตจะใช้พื้นที่ในอาคารพิพิธภัณฑ์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สร้างเป็นห้องพิจารณาคดีเต็มรูปแบบ อยู่ระหว่างการประสานงานกับ ทอท.
"ห้องสืบพยานโดยระบบการประชุมทางจอภาพ" จึงเป็นอีกกลไกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว
และเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมไทย และอำนวยความยุติธรรมแก่ชาวต่างประเทศ
No comments:
Post a Comment