2013-02-01

ทำไม? ผู้นำทั่วโลกตอบรับ รัฐบาลยิ่งลักษณ์



น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย
ช่วงนี้มีข่าวในกะลากับข่าวนอกกะลา
ข่าวที่จะจับคนทั้งประเทศแช่แข็ง 5 ปี เป็นทัศนะของคนในกะลาที่ไม่เคยมองออกนอกกะลาเลย เป็นเวลานานหลายสิบปี
คนพวกนี้วนเวียนอยู่แต่การแสวงหาอำนาจด้วยการรัฐประหารตั้งแต่ปี 2519 จนถึงปัจจุบัน
คนที่อยู่เบื้องหน้าเบื้องหลังของการรัฐประหารหลายครั้งตลอด 35 ปี ก็คิดเป็นอยู่แค่นี้
ถ้าถามว่าได้อำนาจมาแล้ว จะบริหารประเทศอย่างไร ก็คงจะทำหน้างงๆ
เมื่อไม่รู้ว่าจะทำอะไรก็เลยจะต้องปิดประเทศ ต้องแช่แข็ง เหมือนคนที่ได้อาหารมาแล้วทำกับข้าวไม่เป็น ก็ต้องใส่ตู้เย็นไว้ก่อน
จนถึงบัดนี้พวกเขายังไม่รู้เลยว่าประเทศไทยอยู่ในสถานะอะไรของสังคมโลก
วันนี้อยากเปิดกะลาออกมาดูเรื่องไกลตัว ไกลจากความขัดแย้งริมบ่อน้ำที่เคยอาศัยอยู่
ไทยผ่านพ้นสภาพที่จะอยู่ได้แบบประเทศเดี่ยวมานานปี โอกาสที่ผู้คนจะดำรงชีวิตอยู่แบบหมู่บ้านชนบทในอดีตซึ่งนานๆ ติดต่อกับคนภายนอกสักครั้ง ทำไม่ได้แล้ว
ผู้คนทุกหมู่บ้านต้องติดต่อกับโลกภายนอกตลอดเวลา
เริ่มตั้งแต่ข่าวสารและความบันเทิงที่ผ่านจอโทรทัศน์การทำการค้า การแสวงหาความรู้การศึกษาแม้การดำรงชีวิตอยู่โดยปกติ ก็จะต้องติดต่อกับคนภายนอก

BANGKOK, 24 July 2012 – Thailand and Myanmar have agreed to push forward the construction of a joint transportation route after receiving the green light from the Environmental Impact Assessment (EIA) Committee.
ในเวทีโลกก็เช่นกัน ถ้าใครโดดเดี่ยวก็จะยากลำบากแบบเกาหลีเหนือ (ซึ่งต้องพึ่งจีนอยู่ดี)
แม้แต่ประเทศพม่าก็ต้องเลิกนโยบายแช่แข็งและรีบเปิดประตู ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดี จากนานาชาติ
ปัจจุบันเวทีโลก มิใช่มีไว้โชว์การปาฐกถา หรือทำสงครามเย็น แต่การเคลื่อนไหวระดับนานาชาติทุกเรื่องล้วนเกี่ยวพันกับชีวิตของชาวบ้าน ตั้งแต่อาหารการกิน ราคาน้ำมัน การค้าขาย เทคโนโลยี แรงงานข้ามประเทศ และการเมือง การทหาร
ทุกประเทศมาประชุมกันทั้งเพื่อต่อรองผลประโยชน์ หาความร่วมมือหรือคลี่คลายความขัดแย้ง


น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ให้การต้อนรับ นายเหวิน เจีย เป่า นากยกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ทำเนียบรัฐบาลอย่างเป็นทางการ
รัฐบาลยิ่งลักษณ์… 
บินออกจากบ่อน้ำเล็กๆ สู่เวทีโลก
รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ที่ใครๆ มองว่าถอยเกือบทุกเรื่อง จริงๆ แล้วยังมีบทบาทด้านรุก ที่นอกจาก นโยบายเศรษฐกิจ คือนโยบายด้านต่างประเทศ ซึ่งมีจุดหมายที่เป็นรูปธรรมทางเศรษฐกิจและการเมืองต่อประเทศต่างๆ ในเงื่อนไขที่ต่างกัน 
ระยะเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา มีการเคลื่อนไหวอย่างคึกคัก ของผู้นำประเทศเล็กประเทศใหญ่ที่บินพบปะเจรจากันมาก อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศแถบนี้ ถ้าดูจากเมืองไทยเป็นหลักจะเห็นการเคลื่อนไหว ของนายกฯ ยิ่งลักษณ์และผู้นำประเทศต่างๆ ดังนี้

Zur Abwechslung mal ein “weniger wichtiger” Besuch. Der Präsident von Uganda

26 มีนาคม 2555 นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไปประชุมสุดยอดความมั่นคงทางนิวเคลียร์ ที่ สาธารณรัฐเกาหลี
17-19 เมษายน 2555 เดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน
19-22 เมษายน 2555 ร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ณ กรุงโตเกียว
27-28 พฤษภาคม 2555 เยือนประเทศออสเตรเลีย
17-19 กรกฎาคม 2555 เยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
20-21 กรกฎาคม 2555 เยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศส
7-9 กันยายน 2555 ประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ณ เมืองวลาดิวอสตอก สหพันธรัฐรัสเซีย
23-25 กันยายน 2555 ประชุม ที่สหประชาชาติ
15-17 ตุลาคม 2555 ประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue-ACD) ณ ประเทศคูเวต
5-6 พฤศจิกายน 2555 ประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 9 ที่เวียงจันทน์ ส.ป.ป.ลาว
8 พฤศจิกายน 2555 ประชุม Bali Democracy Forum ที่บาหลี อินโดนีเซีย
12-14 พฤศจิกายน 2555 นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการไปเยือนสหราชอาณาจักร
สำหรับการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของผู้นำประเทศต่างๆ
4-5 พฤศจิกายน 2555 นายจูเซ มานูเอล บาร์โรซู ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป
9-10 พฤศจิกายน 2555 นายลี มยอง-บัก ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี
15-16 พฤศจิกายน 2555 นายลีออน อี. พาเนตตา รมว.กลาโหมสหรัฐอเมริกาและคณะ
15-17 พฤศจิกายน 2555 นายโยเวรี คากูตา มูเซเวนี ประธานาธิบดีสาธารณรัฐยูกันดา
16-18 พฤศจิกายน 2555 นายอาหมัด โมฮัมหมัด อาหมัด อัล ฏาเย็บ อิหม่ามสูงสุด หรือผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์
17-18 พฤศจิกายน 2555 ประธานาธิบดี บารัค โอบามา มีกำหนดมาเยือนไทย เพื่อเจรจาทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีของไทย
วันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2555 นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีของจีน ก็มาเยือนไทย


นายกฯยิ่งลักษณ์หารือทวิภาคีกับนายกฯออสเตรเลียเพื่อพิจารณากรอบความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA)

…ทำไมต้องมาเมืองไทย?
ทุกคน like… ASEAN+6
คนไทยยิ้มสวยไม่ใช่เรื่องหลัก บุคลิกนายกฯ ยิ่งลักษณ์ก็เป็นเรื่องรอง แต่ไทยเพิ่มน้ำหนักความสำคัญ โดยเป็นศูนย์กลางของกลุ่มอาเซียน
กลุ่มอาเชียนประกอบไปด้วย 10 ประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นก็คือ ประเทศบรูไน พม่า กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และมีผลจริงๆ จังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558
ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมาก จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งจะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า-ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี 
และวันนี้ก็ได้เพิ่มน้ำหนักความสำคัญโดยขยายวงเป็นกรอบที่ใหญ่ขึ้นคือ ASEAN+6 ซึ่งประกอบด้วยชาติอาเซียน และคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย


นายกฯยิ่งลักษณ์หารือทวิภาคีร่วมกับนายกรัฐมนตรีอินเดีย ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูช

ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนในเดือนสิงหาคมเกี่ยวกับกรอบความตกลง ASEAN+6 โดยจะพัฒนา ภายใต้ชื่อ Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP ซึ่งมีทั้งการเปิดเสรีด้านการค้า บริการ ลงทุน สร้างมาตรการทางการค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยการเปิดเสรีจะยึดกรอบจาก FTA เรื่องนี้จะเสนอเข้าที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในเดือนพฤศจิกายน 2555 นี้ เพื่อพิจารณาอนุมัติ อย่างเป็นทางการ โดยคาดว่าจะเริ่มเจรจากรอบการค้าเสรีในปี 2556 และให้เสร็จในปี 2558 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และอีกไม่นานประตูทวายในพม่าก็จะเปิด เชื่อมต่อผ่านไทย ทะลุไปเวียดนาม
ประชากรในจีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ก็เกือบครึ่งโลก กำลังการผลิตเกินครึ่ง ความสำคัญของ ASEAN+6 ดึงให้ผู้นำทั้งใหญ่และเล็กบินเข้ามาพร้อมกันในช่วงนี้
หลายคนแวะเยี่ยมเยือนนายกฯ ยิ่งลักษณ์ที่ไทย ไปประชุมที่พนมเปญ 19-20 พฤศจิกายน 2555
รัฐบาลไทยต้องรีบเดิน
…แต่อย่างระมัดระวัง


นายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ แห่งสหราชอาณาจักร ณ พระราชวัง

ใน สถานการณ์ที่ยุโรปและอเมริกากำลังมีปัญหาทางเศรษฐกิจ เอเชียกลับเป็นความหวังช่วยฟื้นโลก มหาอำนาจหรือประเทศใหญ่ต้องแก่งแย่งแข่งขันกัน เพื่อชิงพื้นที่การลงทุน การวางจังหวะก้าวของประเทศเล็กที่มีความสำคัญทางภูมิศาสตร์อย่างไทยต้องเดิน ละเอียด เหมือนเดินเข้าศาลรัฐธรรมนูญ 
นายกฯ หญิงของไทยเดินทางไปหลายประเทศ หลายทวีปไม่ใช่เรื่องแต่งตัวสวยไปเดินเที่ยว ทุกที่มีเป้าหมายมีงาน เราอยากได้ประโยชน์ เขาก็อยากได้ ทำอย่างไรจะดีที่สุด ที่จะปรับความร่วมมือให้ได้ประโยชน์และไม่เสียมิตร
เช่น การประชุมผู้นำลุ่มแม่น้ำโขงกับญี่ปุ่น (Mekong-Japan Summit) เป็นการประชุมสุดยอดผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วย ไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และญี่ปุ่น จะเห็นว่าไม่มีจีนซึ่งมีปัญหาขัดแย้งเรื่องทำเขื่อนกับประเทศใต้น้ำ แต่กลับมีญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือโครงการพัฒนา
กำหนดการ ของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ จึงเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนก่อน ระหว่างวันที่ 17-19 เมษายน 2555 จากนั้นจึงเดินทางเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ณ กรุงโตเกียว ในวันที่ 19-22 เมษายน 2555 เพื่อยืนยันบทบาทของไทยในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
อเมริกาแสดงท่าทีอย่างแจ่มชัดว่าอยากกลับมามีอิทธิพลในแถบเอเชียตะวันออก เฉียงใต้อีกครั้ง ไทยและฟิลิปปินส์เป็นเป้าหมายหลัก เพราะมีพื้นฐานเก่า แต่ในพม่าซึ่งเป็นเขตขุมทรัพย์ อเมริกาจะต้องกลับไปแก้กฎข้อห้ามต่างๆ เพื่อให้เอื้อกับการลงทุน คราวนี้ถือเป็นงานใหญ่ เพราะมาทั้งประธานาธิบดีและ รมว. กลาโหม

จีนเดินหน้าสู่อาเชียนนานแล้ว เป้าหมายการลงใต้และออกมหาสมุทรอินเดียยังเหมือนเดิม อีกไม่นานเราจะได้เห็นทั้งถนน และเส้นทางรถไฟ การบุกของมหาอำนาจยุคนี้ไม่ได้ใช้อาวุธ แต่เป็นทุน ถนน ทางรถไฟ 3 ปีที่ผ่านมา ความสนิทแนบแน่นมีมากขึ้น
โดยเฉพาะหลังการเลือกตั้งที่ได้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ จีนได้เลือกข้างตามเสียงคนส่วนใหญ่


นายกฯยิ่งลักษณ์พบหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีบัลแกเรีย

นโยบายต่างประเทศได้ประโยชน์สองทาง
ทีม วิเคราะห์มองแผนของรัฐบาลว่าใช้ได้ คือผูกมิตรแนบแน่นกับเพื่อนบ้าน มองประโยชน์ร่วมเป็นเรื่องใหญ่ สิ่งที่ขัดใจกันถือเป็นเรื่องเล็ก ช่วยกันได้รีบช่วย เช่น พม่า บอกว่าไฟฟ้าที่ย่างกุ้งไม่พอใช้ตอนนี้ไฟดับทุกวัน ไทยก็จัดผู้เชี่ยวชาญไปช่วยเหลือ เพื่อให้พม่าสร้างโรงไฟฟ้า ขนาด 700 MW ให้เสร็จในปีเดียว 
ส่วนการเดินหน้าประสานผลประโยชน์มหาอำนาจและประเทศใหญ่ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะญี่ปุ่น จีน อเมริกา ไม่มีใครยอมใครคงต้องใช้ทั้งยิ่งลักษณ์ เต็ง เส่ง และ ฮุน เซน บวกกับข้อได้เปรียบจากทำเลที่ตั้ง กำลังการผลิต ประชากร ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์สูงสุด
สำหรับรัฐบาลไทยแม้จะมี มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 ผูกขาไว้ไม่ให้รัฐบาลทำงานได้ถนัด แต่ทุกประเทศก็ยังให้เครดิต นโยบายด้านต่างประเทศที่เดินอยู่เป็นแนวทางถูกต้องที่จะได้ทั้งประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ และเป็นพลังทางการเมืองที่จะให้ความร้อนต่อสู้กับการ แช่แข็ง

วันนี้มีคนในประเทศจำนวนหนึ่งไม่ยอมรับรัฐบาล มักออกความเห็นว่าโง่บ้าง หรือไม่รู้ธรรมเนียมบ้าง ผลประโยชน์ทับซ้อนบ้าง มีทั้งผ่านโซเชี่ยลมีเดีย หรือผ่านสื่อมวลชน
เมื่อด่าเสร็จอาจสบายใจขึ้นบ้าง รู้สึกว่าตนเองฉลาดกว่าชาวบ้าน

แต่ในความเป็นจริง ในสายตาของผู้ปกครองทุกกลุ่ม คนเหล่านั้นคือห่วงโซ่อาหารชั้นล่างๆ คล้ายพวกแมลง จิ้งหรีด ซึ่งจะต้องถูกกบเขียด คางคก อึ่งอ่างจับกิน

ทุกคนส่งเสียงร้องอยู่ข้างบ่อน้ำเล็กๆ แล้วก็มุดกลับเข้ากะลาหรือเข้ารู ทั้งวัน ถ้าไม่ปรับตัวทั้งหมดก็จะกลายเป็นเหยื่อ
———————————
ที่มา: มุกดา สุวรรณชาติ prachachat

No comments: