แต่กับคนใกล้ตัวที่ฟังเรารู้เรื่องทุกคำ เรากลับพูดกับเขา ไม่ค่อยเพราะ เหมือนพูดกับ สัตว์เลี้ยงเหล่านั้น
2.เรามักขอบคุณพระเจ้าที่ เรานับถือ ที่เรารู้สึกว่า ช่วยให้เราสำเร็จ หรือผ่านพ้นวิกฤติ ไปได้
ทั้ง ๆ ที่คน ที่ทำให้เราสำเร็จนั้น คือตัวเราเอง หรือมนุษย์คนใดคนหนึ่ง ที่เราคุ้นเคย ที่ช่วยเราเอาไว้
แต่เรามักจะนึกถึงเป็นคนท้ายๆ และอาจไม่ได้ขอบคุณเขาเลยก็มี
3.เวลามีเหตุไม่ดีเกิดขึ้นกับชีวิตเรา เรามักโยนความผิดไป ให้เวรกรรม ทั้งที่ปฐมเหตุจริงๆนั้น มาจากฝีมือของเรานั่นเอง
แต่เรามักปัดความรับผิดชอบ ไปให้สิ่งที่มองไม่เห็นคือ”เวรกรรม”
4.เวลาสัตว์ป่าเข้ามากินพืชผล ในไร่ของเกษตรกร หรือบุกมากัดกินสัตว์เลี้ยงในคอกของชาวบ้าน เรามักจะดุด่าโกรธเคืองสัตว์ป่าเหล่านั้น แทนที่จะ โทษมนุษย์ ด้วยกันเองที่เข้าไปแผ้วถางที่อยู่อาศัยของพวกเขา แถมยังเข้าไปไล่ล่า แหล่งอาหารของพวกเขา จนพวกเขาต้องหิวโซ อดอยาก จึงต้องออกมา หาอาหาร ประทังชีวิต ในพื้นที่ ที่มนุษย์บุกรุกบ้านของเขาไป
5.ผู้ใหญ่เรา เวลาทำอะไรที่ไม่ถูกต้องดีงาม ผู้ใหญ่ มักจะหาเหตุผลมาสนับสนุนให้ดูดีเสมอ แต่ในทางตรงกันข้าม หากเด็กๆ ทำในสิ่งเดียวกันกับผู้ใหญ่ทำ มักถูกมองว่า ไร้มารยาท ไม่รู้กาละเทศะฯ เช่น ถ้าผู้ใหญ่กินจุ..ก็มักบอกว่า”เจริญอาหาร” แต่ถ้าเด็กกินจุ..ก็จะบอกว่า”เด็กตะกระ” เป็นต้น
6.คนอยากผอม แทนที่จะพยายามไม่กิน หรือกินให้น้อยลง ตามหลักโภชนาการที่ดี แต่กลับพยายาม หาของกิน เพื่อที่จะทำให้ตัวเองผอมลง
7.เรามักสงสัยเสมอ ว่าทำไมลูกเรามีพฤติกรรมแบบนี้ และไปเอาพฤติกรรมแบบนี้ มาจากไหน โดยลืมไปว่า สิ่งที่เขาเห็น คือ พฤติกรรมของเรานั่นละ คือการได้เรียนรู้ที่ใกล้ตัวเขามากที่สุด
8.เวลาเราซื้อมะม่วงมาบ่มกิน หลายๆลูก เรามักจะเลือกลูกที่สุกและเริ่มช้ำๆมากินก่อน ก่อนที่มันจะเสีย จนหมดมะม่วงที่บ่มไว้
จนเราได้กิน มะม่วงช้ำๆ ทั้งกองที่บ่มไว้ จนหมด และไม่เคยได้กินลูกดีๆ ที่สมบูรณ์สักลูกเดียว
คำให้กำลังใจ สั้น ๆ กินใจ มีความหมาย
No comments:
Post a Comment