หากคุณเป็นอีกคนที่บ่นว่าการต้องอยู่อาศัยในคอนโดห้องเล็กๆ มันช่างเป็นเรื่องที่แสนจะอึดอัด วันนี้ทาง Checkraka.com อยากพาไปชมสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวฮ่องกงกลุ่มนึงที่ไม่ได้มีฐานะมากนัก พวกเขาต้องอาศัยในแฟลตหรือคอนโดขนาดแค่ประมาณ 5 - 10 ตร.ม. (เทียบกับคอนโดขนาดเล็กสุดในบ้านเรา 21 ตร.ม.)
ด้วยความที่ฮ่องกงตั้งอยู่บนเกาะที่มีขนาดพื้นที่เพียง 1,108 ตารางกิโลเมตร ที่ดินบนเกาะฮ่องกงจึงมีราคาสูงมาก การมีบ้านเดี่ยวหรือห้องชุดสักห้องจึงถือว่าเป็นเรื่องเฉพาะของคนมีฐานะเท่านั้น "Architecture of Density" และ "100x100" คือชื่อภาพถ่าย 2 ชุดจากฝีมือช่างภาพชาวเยอรมัน "Michael Wolf" ที่ได้ถ่ายภาพทั้งจากข้างนอกและข้างในอพาร์ตเม้นต์ ทั้งภาพตึกสูงที่เต็มไปด้วยห้องพักถี่ๆ จนเหมือนรังมด และภาพภายในห้องพักที่สะท้อนให้เห็นถึงความแออัดในการอยู่อาศัยของชาวฮ่องกง
เริ่มต้นกันด้วย 10 ภาพถ่ายจากคอลเลคชั่นชุด "Architecture of Density" กับความถี่ของห้องพักที่ดูคล้ายรังมด
รูปนี้ถ่ายไว้เมื่อปี 2008
รูปนี้ถ่ายไว้เมื่อปี 2006
รูปนี้ถ่ายไว้เมื่อปี 2003
รูปนี้ถ่ายไว้เมื่อปี 2008
รูปนี้ถ่ายไว้เมื่อปี 2005
กระทั่งพื้นที่ในการวางคอมเพรสเซอร์แอร์ยังหนาแน่น
รูปนี้ถ่ายไว้เมื่อปี 2006
รูปนี้ถ่ายไว้เมื่อปี 2003
พื้นที่ว่างอันน้อยนิดที่ถูกห้อมล้อมไปด้วยตึก
รูปนี้ถ่ายไว้เมื่อปี 2008
สำหรับภาพถ่ายชุดที่สองที่ช่างภาพ "Michael Wolf" ให้ชื่อคอลเลคชั่นว่า "100x100" สะท้อนให้เห็นถึงความแออัดภายในห้องพักของชาวฮ่องกงที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยซึ่งมีจำนวนมากกว่าแสนคนที่ต้องอาศัยอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ ที่มีขนาดประมาณตั้งแต่ 10-100 ตร.ฟุต (เทียบได้กับห้องประมาณ 5 - 10 ตร.ม.) ต้องกินมุมนึง เก็บข้าวของมุมนึง นอนและดูทีวีอีกมุม เรียกว่าทำทุกอย่างในห้องเล็กๆ ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในกรงที่มีพื้นที่จำกัด
ภายในห้องเล็กๆ ที่คนในครอบครัวต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันถึง 3 คน
อาแปะคนนี้ ชื่อ "Ma Gui Woon" อายุ 68 ปี เคยมีอาชีพเป็นหนุ่มโรงงานผลิตเสื้อผ้า
ชีวิตประจำวันของ 4 คน พ่อ แม่ ลูก ในห้องที่กว้างเพียงเกือบ 5 ตร.ม.
อาม่า Tam King อายุ 82 ปี กับอาแปะ ที่เคยมีอาชีพเป็นคนงานในโรงงานโลหะ
หนุ่มคนนี้สบายหน่อยเพราะอาศัยอยู่คนเดียว
อาม่า Lam Sam Mui อายุ 93 ปี เคยมีอาชีพเร่ขายของ
ห้องเล็กๆที่เต็มไปด้วยข้าวของ แต่ยังมีพื้นที่พอให้อาม่าเด็ดผัก
ถึงห้องจะเล็กแต่อาแปะก็ยังสามารถนั่งซักผ้าไปดูทีวีไป
อาม่า Tham Ho อายุ 99 ปี เคยเป็นคนงานของโรงงานปูนซีเมนต์
อาแปะที่นั่งเขียนหนังสือชิลล์ๆ อยู่ในห้องที่เต็มไปด้วยสิ่งของ
อาจเพราะด้วยหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องสภาพภูมิประเทศของเกาะฮ่องกงที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด และฐานะของผู้อยู่อาศัยที่อัตคัตเกินกว่าจะมีทางเลือกในการหาที่อยู่ที่มีพื้นที่กว้างขวางกว่านี้ ทำให้ต้องอยู่อาศัยกันแบบนี้ แต่จากบทสัมภาษณ์ของผู้พักอาศัยหลายๆ คน ก็จะเห็นได้ว่าพวกเขาก็มีความสุขตามอัตภาพของตัวเอง เพราะพึงพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ คงคล้ายๆ กับสุภาษิตไทยที่ว่า "คับที่อยู่ได้ แต่คับใจมันอยู่ยาก" นั่นเอง
==================================================================
ฮ่องกง (อังกฤษ: Hong Kong; อักษรจีน: 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (อังกฤษ: Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.2 และประชากรกว่าเจ็ดล้านคน เป็นเขตที่มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นที่สุดเขตหนึ่งในโลก ประชากรฮ่องกง 93.6% มีเชื้อชาติจีน และ 6.4% มาจากกลุ่มอื่น ประชากรส่วนใหญ่ที่พูดภาษากวางตุ้งของฮ่องกงกำเนิดจากมณฑลกวางตุ้งที่อยู่ติด ซึ่งประชากรจำนวนมากหนีสงครามและการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ในจีนแผ่นดินใหญ่ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930
ภูมิศาสตร์[แก้]
ฮ่องกงมีพื้นที่รวม 1,096.63 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย เกาะฮ่องกง (80.30 ตร.กม.) เกาลูน (46.71 ตร.กม.) เขตดินแดนใหม่ (New Territories) และเกาะอื่น ๆ (969.62 ตร.กม.) หรือขนาดประมาณ 1 ใน 6 ของพื้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเกาะฮ่องกง เกาลูนและเขตดินแดนใหม่ จะเป็นแนวเขาทอดตัวยาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือลงสู่ทิศใต้ เป็นแนวเขาที่ต่อเนื่องมาจากมณฑลฝูเจี้ยนและกว่างตงที่อยู่ทางตอนใต้ของจีน แต่เนื่องจากเขตเทือกเขาแต่ครั้งโบราณนั้น ปัจจุบันจมอยู่ใต้น้ำ จึงเกิดเป็นทัศนียภาพเกาะแก่งเล็ก ๆ ที่มีลักษณะลาดชันผุดโพล่ขึ้นมากมาย
ภูมิอากาศ[แก้]
ฤดูร้อนอากาศร้อนชื้น มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 26-30 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวอากาศเย็นสบายและแห้ง น้อยครั้งที่จะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายนฝนตกชุกและมีลมแรง ฤดูร้อนมักเกิดลมมรสุม
ประวัติศาสตร์[แก้]
ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์ฮ่องกง
ยุคก่อนอาณานิคม[แก้]
"ฮ่องกง" เดิมเป็นเพียงหมู่บ้านประมงเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอซินอัน เมืองเซินเจิ้น ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษากวางตุ้ง ซึ่งมาจากภาษาจีนกลาง ว่า "เซียงกั่ง" ความหมายก็ไม่เหมือนใคร หมายความว่า "ท่าเรือหอม" มีความเป็นมา สืบเนื่องมาแต่ครั้งที่กวางตุ้ง เป็นแหล่งปลูกไม้หอมชนิดหนึ่ง ส่งขายเป็นสินค้าออก โดยที่ต้องมาขนถ่ายสินค้ากัน ที่ท่าเรือน้ำลึกตอนใต้สุดของแผ่นดินจีน ด้วยภูมิประเทศของฮ่องกงเอง ที่เป็นเมืองท่าน้ำลึก เหมาะแก่การจอดเรือสินค้าขนาดใหญ่ จึงทำให้ฮ่องกงกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญของโลก
อาณานิคมสหราชอาณาจักร[แก้]
ดูบทความหลักที่: บริติชฮ่องกง และ ประวัติศาสตร์ฮ่องกง (2343 - 2473)
เมื่อราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีเรือของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร นำโดยกัปตัน ชาร์ลส์ อีเลียต (อังกฤษ: Charles Elliot) แล่นผ่านน่านน้ำระหว่าง แหลมเกาลูนและเกาะแห่งหนึ่งที่ร่ำลือกันว่า เป็นที่หลบลมพายุของพวกโจรสลัด กัปตันอีเลียต เกิดได้กลิ่นหอมชนิดหนึ่ง จึงจอดเรือและขึ้นฝั่ง ส่งล่ามลงไปสอบถาม ได้ความว่าเป็นท่าเรือหอม ใช้ขนถ่ายไม้หอม กัปตันรับทราบด้วยความประทับใจ
เมื่อกัปตันอีเลียตเดินทางกลับสู่สหราชอาณาจักรและได้รับการแต่งตั้งให้ไปประจำการฝ่ายการพาณิชย์ของสหราชอาณาจักรในภาคพื้นเอเซีย ซึ่งขณะนั้นเอง ประเทศสหราชอาณาจักรซึ่งปกครองโดยพระนางวิกตอเรีย กำลังต้องการอาณานิคมในแถบทะเลจีนใต้ เพื่อใช้เป็นที่จัดส่งสินค้า หรือฝิ่นนั่นเอง และประจวบเหมาะพอดีกับที่ฝ่ายสหราชอาณาจักรและจีน กำลังมีปัญหาเรื่องการค้าฝิ่นในแถบกวางตุ้งของจีน จนทำให้เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 ขึ้น ในปี ค.ศ. 1839 กัปตันอีเลียตจึงตัดสินใจยกพลขึ้นบกที่ท่าเรือกลิ่นหอม และประกาศให้ดินแดนแถบนั้นเป็นของสหราชอาณาจักร ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) หลังจากจีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่น ปลายศตวรรษที่ 19 เกาะฮ่องกง และ ดินแดนตอนปลายคาบสมุทรเกาลูน จึงตกเป็นอาณานิคมในปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) และ พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) ตามลำดับ
ว่ากันว่ามีเหตุการณ์ที่น่าขัน และสร้างความขายหน้าให้กับพระราชินีวิกตอเรียยิ่งนัก ที่กองทหารสหราชอาณาจักรเข้ายึดเกาะที่มีแต่หินโสโครก หาประโยชน์ไม่ได้เลย กัปตันอีเลียตจึงถูกลงโทษด้วยการส่งไปเป็นกงสุลสหราชอาณาจักรประจำรัฐเท็กซัสแทน ต่อมาภายหลัง ตั้งแต่นั้น จีนและสหราชอาณาจักรกระทบกระทั่งกันเรื่องการค้าฝิ่นเรื่อยมา เกิดสงครามฝิ่นถึงสองครั้ง หลังสงครามฝิ่นครั้งที่สองนี่เอง สหราชอาณาจักรได้บีบบังคับให้จีนทำสัญญาในปี พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) สหราชอาณาจักรได้ทำสัญญา ‘เช่าซื้อ’ พื้นที่ทางตอนใต้ของลำน้ำเซินเจิ้น ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ‘เขตดินแดนใหม่’ (เขตนิวเทร์ริทอรีส์) รวมทั้งเกาะรอบข้าง ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่กว่าเมื่อครั้งสหราชอาณาจักรเข้ายึดครองในสมัยสงครามฝิ่นเกือบสิบเท่า.
ผู้สำเร็จราชการคนแรกที่มาประจำยังเกาะฮ่องกง ท่านลอร์ด Palmerston เคยขนานนามเกาะแห่งนี้ไว้ว่า "หินไร้ค่า" แต่สหราชอาณาจักรได้ช่วยวางรากฐานการศึกษา การปกครอง และผังเมืองให้ฮ่องกงเป็นอย่างดี เพียงชั่วพริบตาเดียว ฮ่องกงได้กลับกลายเป็นศูนย์กลางพาณิชย์และยังเป็นประตูเปิดสู่ประเทศจีน
การยึดครองของญี่ปุ่น[แก้]
ดูบทความหลักที่: การยึดครองฮ่องกงของญี่ปุ่น
ยุคสงครามเย็น
สหราชอาณาจักรเช่าฮ่องกงทั้งหมด เป็นเวลา 99 ปี โดยกำหนดวันหมดสัญญาไว้วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยได้ทำพิธีส่งคืนเกาะฮ่องกง ให้แก่จีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ไปเรียบร้อย ทั้งนี้เคยมีการเจรจาระหว่างสหราชอาณาจักรโดย นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กับ นายเติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำฝ่ายจีน เพื่อเจรจาขอเช่าเกาะฮ่องกงต่อ แต่ได้รับการปฏิเสธ และในปีเดียวกันนั้น วันที่ 26 กันยายน ผู้นำทั้งสองจึงเปิดเจรจาอีกครั้งและลงนามในสัญญา โดยมีสาระสำคัญว่า สหราชอาณาจักรจะยอมส่งมอบคืนเกาะฮ่องกงให้กับจีน และจีนได้ให้สัญญาว่าจะยอมให้ฮ่องกง อยู่ในฐานะ "เขตปกครองตนเอง" ภายใน 50 ปี
ปัจจุบันจีนได้มอบหมายให้ นายตงจิ้นหวา ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการฮ่องกง และจีนได้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้รัฐบาลปักกิ่งรับผิดชอบด้านกิจการต่างประเทศ การทหาร และความมั่งคงเท่านั้น ส่วนการบริหารยังคงให้อิสระแก่ชาวฮ่องกงเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตามด้วยทำเลอันเหมาะสม เกาะฮ่องกงก็ยังมีบทบาทสำคัญยิ่งในศตวรรษที่ 21 ในฐานะเมืองท่าการค้าระหว่างประเทศ ฐานที่ตั้งสำคัญของผู้ผลิต และศูนย์กลางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
รูปแบบการปกครอง[แก้]
ฮ่องกงเป็นเขตบริหารพิเศษที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง รัฐบาลจีนใช้นโยบาย "หนึ่งประเทศ สองระบบ" ปกครองฮ่องกง ตามกฎหมายพื้นฐานที่ใช้ปกครองและบริหารฮ่องกงที่สภาประชาชนจีนอนุมัติและประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2533 ให้สิทธิฮ่องกงในการปกครองตนเองอย่างอิสระ สามารถดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การพาณิชย์ ฯลฯ ได้ตามระบบเสรี รัฐบาลจีนได้กำหนดให้ฮ่องกงสามารถดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรีต่อไปได้อีกเป็นเวลา 50 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 จนไปถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2590[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้น ฮ่องกงจะเปลี่ยนไปปกครองแบบเมืองอื่น ๆ ของจีน[ต้องการอ้างอิง]
สิทธิมนุษยชน[แก้]
ดูบทความหลักที่: สิทธิมนุษยชนในฮ่องกง
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ[แก้]
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในฮ่องกงสามารถทำได้โดยเสรี เงินดอลลาร์ฮ่องกง (Hong Kong Dollar) เป็นสกุลเงินที่สามารถแลกเปลี่ยนกับเงินตราต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันทางการฮ่องกงได้กำหนดให้เงินดอลลาร์ฮ่องกงมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Rate) กับเงินดอลลาร์สหรัฐ (แต่เพิ่มสูง/ต่ำกว่าอัตราที่กำหนดได้เล็กน้อย) อัตราแลกเปลี่ยนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 คือ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 7.76 ดอลลาร์ฮ่องกง (อัตราซื้อขายโดยเฉลี่ย) ธนบัตรของฮ่องกง พิมพ์โดย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ ธนาคารเอชเอสบีซี และะธนาคารแห่งประเทศจีน
การท่องเที่ยว[แก้]
ดูบทความหลักที่: การท่องเที่ยวในฮ่องกง
ฮ่องกงเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งตึกสูงระฟ้า อาคารทันสมัย ตลาดขายของพื้นเมือง ตลาดขายของเก่า วัดวาอาราม หรือแม้แต่แปลงปลูกผัก จากความหลากหลายเหล่านี้ จึงทำใหฮ่องกงมีมนต์เสน่ห์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างมากมาย นักท่องเที่ยวสามารถพบกับสิ่งที่น่าสนใจและหลากหลาย โดยเราสามารถแบ่งเขตท่องเที่ยวสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลัก ๆ ออกเป็น 3 เขต คือ เกาะฮ่องกง ฝั่งเกาลูน เขตนิวเทอร์ริทอรี่ส์ และหมู่เกาะต่าง ๆ
- ย่านเซ็นทรัล (Central)
เขตเซ็นทรัลเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจของฮ่องกง เป็นที่ตั้งของบริษัทธุรกิจชั้นนำของเอเชีย ธนาคารนานาชาติ สำนักงานใหญ่ของรัฐบาล และอาคารศาลสูงสุด พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยตึกสูงระฟ้า ที่เป็นอาคารสำนักงานและศูนย์การค้าอันทันสมัย ตลอดจนโรงแรมระดับ 5 ดาว อาคารที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ในย่านเซ็นทรัลนี้ ได้แก่ อาคาร Bank of China Tower ออกแบบโดย I.M. Pei และ อาคาร HongKong Bank ออกแบบโดย Sir Norman Foster ท่ามกลางความทันสมันเหล่านี้ยังมีถนนแบบขั้นบันไดอันเก่าแก่ ซึ่งได้รับการบันทึกว่าเป็นทางเลื่อนต่อเนื่องที่ยาวที่สุดในโลก และนอกจากนี้เรายังสามารถพบเห็นสวนสาธารณะที่ร่มรื่นเขียวขจีแทรกตัวอยู่ทั่วไป
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมายังเขตเซ็นทรัลได้โดยรถไฟใต้ดิน ลงสถานี Central หรือ สถานี Hongkong
ฮ่องกงมีชื่อเสียงในด้านการเป็นแหล่งชอปปิ้ง โดยย่านที่มีชื่อเสียง เช่น ถนนนาธาน (จิมซาจุ่ย) ย่านเซ็นทรัล เป็นต้น แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ เช่น สวนสนุก ฮ่องกง ดิสนีย์แลนด์ รีสอร์ท สวนสนุกโอเชียนปาร์ค วิกตอเรียพีค พระใหญ่วัดโปลิน(พระไวโรจนพุทธะ) วัดหวังต้าเซียน อ่าวน้ำตื้น Repulse Bay นอกจากนั้นยังมีการแสดง Symphony of lights ซึ่งเป็นมัลติมีเดียโชว์ที่ติดตั้งถาวรใหญ่ที่สุดในโลก
นโยบายการค้า[แก้]
ฮ่องกงดำเนินนโยบายการค้าเสรีและเป็นเมืองท่าเสรี การดำเนินการค้าแบบเสรีมาตั้งแต่เดิมจนถึงปัจจุบันติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ทำให้ฮ่องกงมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศมากเป็นอันดับที่ 9 ของโลก รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์และการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ ฮ่องกงยังเป็นส่วนหนึ่งของขุมพลังทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำซูเจียง หรือแม่น้ำเพิร์ล อันเปรียบเสมือนประตูการค้าเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน
ในปัจจุบันฮ่องกงเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก โดยใช้ชื่อในฐานะสมาชิกขององค์การการค้าโลกว่า "Hong Kong, China" ซึ่งเป็นสมาชิกแยกต่างหากจากจีน นอกจากนั้น ฮ่องกงยังเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ด้วย คือ APEC, PECC, ADB, WCO, ESCAP รวมทั้งเป็นผู้สังเกตการณ์ใน OECD ด้วย
จากการดำเนินนโยบายการค้าแบบเสรีและเป็นเมืองท่าเสรี ฮ่องกงจึงไม่มีการจัดเก็บภาษีศุลกากรในการนำเข้าและส่งออก แต่มีการเก็บภาษีสรรพสามิต (Excise Duty) สินค้า 3 หมวด คือ สินค้าเครื่องดึ่มผสมแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ ใบยาสูบ และหมวดผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง
ประเทศคู่ค้าสำคัญของฮ่องกง[แก้]
ประเทศคู่ค้าสำคัญ 15 อันดับแรกของฮ่องกง (ในปี พ.ศ. 2544) เรียงตามลำดับมูลค่าการค้าสองฝ่าย (Two-way trade volume) ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เยอรมนี สหราชอาณาจักร มาเลเซีย ฝรั่งเศส ไทย อิตาลี เนเธอร์แลนด์ แคนาดา และ ฟิลิปปินส์
คู่ค้าสำคัญของฮ่องกงในกลุ่มประเทศอาเซียน[แก้]
ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย (เฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนที่ติดอันดับกลุ่มประเทศคู่ค้าสำคัญ 30 อันดับแรกของฮ่องกง)
ปัจจุบัน ฮ่องกงเป็นหน่วยงานการค้าระหว่างประเทศขนาดใหญ่เป็นที่ 10 ของโลก เป็นตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราใหญ่อันดับ 7 ศูนย์กลางการเงินการการธนาคาร อันดับที่ 12 และเป็นตลาดค้าทองคำขนาดใหญ่หนึ่งในสี่ของโลก
นอกจากนี้ ฮ่องกงยังเป็นเขตการส่งออกสินค้าจากทั่วโลก อาทิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป นาฬิกา ของเล่น เกมคอมพิวเตอร์ เครื่องไฟฟ้า และสินค้าอุตสาหกรรมขนาดเบาอีกหลายชนิด
เชื้อชาติ[แก้]
ฮ่องกงมีจำนวนประชากรกว่า 6.99 ล้านคน ในปี 2549 ( in 2019 =7,451,898) ความหนาแน่นของประชากร 6,300 คนต่อตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนมากป็นชาวฮ่องกง มีร้อยละ 3 เป็นชาวต่างชาติ อาทิ สหราชอาณาจักร ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อเมริกัน ฯลฯ
ระเบียบการเข้าเมือง[แก้]
หนังสือเดินทางมีอายุใช้งานอย่างน้อย 1 เดือน นักท่องเที่ยวหลายสัญชาติจากหลายประเทศไม่ต้องขอวีซ่าตั้งแต่ 7 วัน ถึง 180 วัน ขึ้นอยู่กับสัญชาติ (สำหรับคนไทยอยู่ในฮ่องกงได้โดยไม่ต้องขอวีซ่านาน 1 เดือน)
ศาสนา[แก้]
ดูบทความหลักที่: ศาสนาในฮ่องกง
ภาษา[แก้]
ดูบทความหลักที่: ภาษาในฮ่องกง
ภาษากวางตุ้งซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่มีการพูดตั้งแต่มณฑลกวางตุ้งของจีนเรื่อยมาจนถึงฮ่องกงได้กลายมาเป็นภาษาทางการของฮ่องกง ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นของภาษาของเจ้าอาณานิคมก็ยังคงเป็นภาษาทางการร่วมซึ่งถูกใช้พูดมากกว่า 38 เปอร์เซ็นของประชากร ก็เป็นภาษาที่ใช้แพร่หลาย ส่วนภาษาจีนท้องถิ่นอื่นเช่นแต้จิ๋ว หรือจีนแคะ ฯลฯ ก็มีไม่น้อยเช่นกัน และตั้งแต่ฮ่องกงกลับสู่ใต้การปกครองของจีนแผ่นดินใหญ่ การใช้ภาษาจีนกลางในการติดต่อก็เริ่มเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการเข้ามาของชาวจีนแผ่นดินใหญ่และการติดต่อค้าขายระหว่างกัน ถึงแม้ว่าการใช้อักษรจีนนั้นยังนิยมใช้อักษรจีนตัวเต็มอยู่ก็ตาม นอกจากนั้นทางรัฐบาลฮ่องกงได้มีโครงการ "สองแบบอักษร สามภาษา" เพื่อสนับสนุนให้ชาวฮ่องกงใช้ภาษาทั้ง 3 ภาษาร่วมกัน คือภาษากวางตุ้ง จีนกลาง และอังกฤษ
No comments:
Post a Comment