รวมวาทะ 108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง?
วันที่ 26 ก.ค. 2556 ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.) จัดเสวนาหัวข้อ 108 เหตุผลทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนิน ซึ่งมีผู้ร่วมให้เหตุผลไว้ ดังนี้
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ศาสตราจารย์ประจำและอดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
"ที่เรามารวมตัวกันที่นี้ เพื่อบอกว่า นักโทษการเมือง จะต้องหมดไปจากประเทศไทยด้วยการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ขณะเดียวกัน การนิรโทษกรรมในปี 2556 ต้องไม่ใช่การนิรโทษกรรมเช่นใน เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ที่เป็นการนิรโทษกรรมแบบ "เหมาเข่ง" ที่ผู้ก่อความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองได้รับการนิรโทษกรรมไปด้วย เพราะประวัติศาสตร์บอกเราชัดเจนว่า ตราบใดที่ผู้กระทำผิดไม่ถูกลงโทษ ก็จะมีความุรนแรงตามมา อย่าให้ประวัติศาสตร์สอนเราว่า เราไม่เคยเรียนรู้อะไรจากประวัติศาตร์ต่อไปอีกเลย"
นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“การนิรโทษกรรมในอดีตที่ผ่านมา 81 ปี ของประชาธิปไตยไทย เป็นการนิรโทษกรรมผู้ที่ละเมิดสิทธิของประชาชน เป็นการนิรโทษกรรมในการทำร้ายประชาชน”
“การนิรโทษกรรมนั้นเป็นสถานปนาความยั่งยืนของประชาธิปไตย จะทำอย่างไรให้ประชาชนที่แตกแยกกลับมาสร้างความเป็นพลเมืองเป็นพลเมืองที่รอบรู้และเท่าทันเพราะเราไม่สามารรถจะตัดสินใจหรือตัดสินได้ว่าจะเกิดรัฐประหารหรือเปล่า หรือเกิดความวุ่นวายทางกรเมืองหรือเปล่า สิ่งที่ขยายไปทางอีสานและภาคเหนือ พบว่าความเสียหายต่อพวกเราที่เกิดขึ้นจากความเสียสละ การนิรโทษกรรมนี้ต้องยืนหยัดปกป้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง สิทธิในการชุมนุม สิทธิในการแสดงความเห็น อารยะขัดขืนต่อความฉ้อฉลทางการเมือง สิ่งนี้สำคัญต้องยืนหยัดในการเคลื่อนไหว ไม่ให้บุคคลที่แปลกปลอมทางการเมืองเข้ามาครอบงำ”
“สิ่งที่เป็นปัญหาในระบบของการร่างกฎหมายคือรัฐสภา ร่างฯ ของภาคประชาชนเข้าสู่สภาแต่ไม่เคยมีกฎหมายฉบับไหนประสบความสำเร็จเลย ไม่ว่าจะเป็นป่าชุมชน ประกันสังคม ….”
“มีแต่พวกเราเท่านั้นภาคประชาชนทีได้รับผลกระทบทุกสีทุกกลุ่มต้องผนึกกำลังสังคมให้นิรโทษกรรมเป็นกฎหมายภาคประชาชน และทำให้การเมืองตะหนักว่าการเมืองมวลชนตื่นตัวรู้เท่าทันในการเรียกร้องสิทธิที่เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนอย่างแท้จริง”
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ศาสตราจารย์ประจำและหัวหน้าสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“หนังเรื่อง only god forgives แปล่าวมีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่ให้อภัย แปลว่ามนุษย์ไม่ ในหนังก็พูดแบบเดียวกัน ประเด็นของมันก็คือว่าในที่สุดแล้วคนซึ่งอย่าจะแก้แค้นก็ไม่ยอมให้อภัย ไม่ยอมคิดถึงเรื่องของการนิรโทษกรรม 2 เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเดียวกันแต่ก็พันกันอยู่ ดังนั้นในหนังก็เลยอธิบายว่าในสังคมนี้ก็ไม่สามารถจัดการความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ยกเว้นต้องใช้ความรุนแรงด้วยกันเอง ดังนั้นมีแต่พระเป็นเจ้าเท่านั้นที่จะให้อภัยได้”
“ทำไมการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองในสังคมไทยจึงยาก ในสังคมไทยถ้ามองไป ผมคิดว่าถ้าดูจากพุทธประวัติ ไม่ว่าจะเป็นกรณีของพระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าเทวทัต ที่สัมพันธ์กับพุทธองค์นี่ ในที่สุดแล้วทั้ง 2 ซึ่งเคยขอยกกรรมซึ่งเคยทำไว้ แม้แต่พระพทธองค์ก็ไม่สามารถที่จะยกกรรมที่พวกเขาทำไว้ได้ ในระบบของจักรวาลวิทยาแบบพุทธนี่การยกโทษจากกรรมการนิรโทษจากกรรมคงทำได้ยากกว่าในศาสนาอื่น”
นิรโทษกรรมในภาษาฝรั่งใช้คำว่า “Amnesty” คำนี้เป็นญาติกับอีกคำหนึ่ง คำนั้นคือคำว่า “Amnesia” แปลว่าความหลงลืม ปัญหาอยู่ที่ว่าในสังคมต่างๆ ซึ่งถ้าจะคิดเรื่อการนิรโทษกรรมแล้วมันพันกับความหลงลืม บางที่กลายเป็นว่าจะต้อลืมบางอย่าง คำถามที่น่าสนใจในทางสังคมศาสตร์ก็คือว่า ความทรงจำเป็นเรื่องสำคัญ แต่วันนี้ก็คงจะเห็นว่าประเด็นเรื่องความทรงจำมันเปลี่ยนไป หลายสำนักคิดก็พูดว่าจริงๆการหลงลืมก็สำคัญพอกัน ดังนั้นการหลงลืมเป็นฐานของสังคมการเมืองได้ไหม ก็ได้นะครับ”
“เวลาเราคิดเรื่องการนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง เรากำลังพูดถึง ความแตกต่างในสังคม เรากำลังพูดถึงการจัดการคามแตกต่างในสังคม เรากำลังพูดถึงสังคมนี้ซึ่งมีประวัติศาสตร์ของการใช้ความรุนแรงจัดการกับความแตกต่างในสังคมการเมือง กับความคิดความอ่านทั้งหลาย พอทำไปแล้วปัญหาที่ตามมาก็คือ แล้วจะอยู่ต่อไปอย่างไร ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งในชีวิตของทมนุษย์คือว่าเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีต สิ่งที่ตามมาก็คือมันแก้ไม่ได้ ชีวิตของคุณทั้งกลายที่เดินผ่านมาในอดีตมันกลับไปเปลี่ยนไม่ได้แล้ว คำถามเลยกลายเป็นว่าถ้ามันเปลี่ยนไม่ได้แล้วจะอยู่กับมันอย่างไร ด้วยเหตุนี้การคิดเรื่องการนิรโทษกรรม การคิดเรื่องการให้อภัย การคิดเรื่องวิธีการจัดการกับอดีตเลยกลายเป็นเรื่องสำคัญในทางสังคมการเมือง”
“สังคมนี้ปล่อยให้มีโรคภัยบางอย่าง โรคภัยนี้คือการบอกว่าถ้าเราคิดต่างกันทางการเมืองคนนั้นเป็นอันตราย เราเชื่ออย่างนี้กันมาตลอด โรคภัยนี้นำมาสู่การจัดการคนซึ่งคิดต่างทางการเมือง ไม่ว่าจะด้วยใช้ยี่ห้ออะไร แล้วในที่สุดจะกลายเป็นต้องปราบ จับกุม ทำร้าย ความทุกข์ทรมานก็เต็มไป ทางออกก็คือเราสงสัยต้องหาวิธีดิ้นให้หลุดจากกับดักทางประวัติศาสตร์ กับดักที่เราไม่ยอมเปลี่ยนแปลงทางความคิดของเรา ถึงเวลาหรือยังที่สังคมไทยต้องคิดถึงว่าในประเทศนี้มีความเห็นต่างจริงๆ แล้วมันอาจจะต้องคิดต่อไปว่าสิ่งซึ่งเราคิดว่าเป็นความเห็นทางการเมืองแท้จริงเป็นสิทธิและเสรีภาพของประชาชน”
จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย
“การนิรโทษกรรมที่เกิดขึ้นมาหลายครั้งหลายหนจำนวนมากในประเทศไทยส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นและเกิดขึ้นโดยง่ายก็เป็นการนิรโทษผู้ที่ทำรัฐประหาร นิรโทษตัวเอง นอกจากนั้นก็เป็นการนิรโทษผู้มีอำนาจด้วยกันเอง เช่นผู้ก่อกบฏและผู้ปราบได้ ไม่อยากให้ทะเลาะกันต่อไปก็นิรโทษกรรมกันไปเสีย เป็นการนิรโทษคนระดับสูงในสังคม ส่วนการนิรโทษที่นานๆ จะมีครั้งหนึ่ง เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยและเกิดขึ้นได้ยากมากก็คิดการนิรโทษประชาชน ผู้ที่เป็นผู้ต้องหา ผู้ที่เป็นจำเลยหรือผู้ที่ถูกคุมจังทางการเมือง”
“การนิรโทษกรรมเป็นการแก้ปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐ ไม่ใช่ประชาชนกับรัฐบาล การปล่อยสภาพที่เป็นอยู่มันทำให้คนเผชิญหน้ากับรัฐ และความไม่เท่าเทียมกันมันก่อให้เกิดความโกรธแค้นต่อกันและกัน ไม่เท่าเทียมในการใช้กฎหมาย”
“การนิรโทษเป็นการเยียวยาผู้ที่ไม่ได้รับความยุติธรรมจากกระบวนการยุติธรรมแบบรวดเร็ว เนื่องจากเขาไม่มีฐานจากการต้องการใช้ความรุนแรงมาแต่ต้นอยู่แล้วด้วย”
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธุ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มหาวิทยาลัยแห่งชาติ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกียวโต
“ปรองดองกันไม่ได้เมื่อความจริงยังไม่จบ เราทิ้งไว้ข้างหลังแล้วไม่หันกลับไปดู คุณพูดได้เพราะเขามีญาติผู้เสียชีวิต เขาลืมไม่ลง ความจริงต้องปรากฏก่อนที่เราจะเกินไหน้าไปข้างหน้า ดังนั้นตองมีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง และนักโทษการเมืองต้องได้รับการพิจาณาคดีอย่างเป็นธรรม “
“ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมชิกของประชาคมโลกก็มีพันธกรณีในการกป้องสิทธิมนุษยชนของตัวเอง ในอาเซียนมีสามประเทศที่เดินหน้าในเรื่องนี้อย่างมาก (อินโดนีเซีย, พม่า, กัมพูชา) ไทยก็ควรต้องแสดงให้เห็นว่าไทยปกป้องงสิทธิมนุษยชน อาเซียนเองก็มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และมีการพูดคุยกัยฝ่ายไทยขอให้มีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้อย่างรวดเร็ว ไทยเองก็ได้รับแรงกดดดันจากประเทศอื่นเช่นสหภาพยุโรป เมื่อไหร่ที่มีการเจรจาก็จถถูกหยิบยกมาถกเสมอ เราจะเลื่อนการตัดสินใจเรื่องนี้ได้นานแค่ไหน”
“ตอนนี้มู้ดทั้งหมดของคนทั่วไปอยู่ที่คนที่ถูกจับกุมจากการสลายการชุมนุม แต่คนที่ได้รับผลกระทบไม่แพ้กันคือ 112 ซึ่งเป็นนักโทษการเมืองแบบหนึ่งและสะท้อนให้เห็นความผิดปกติของสังคมไทยเป็นอย่างมาก ที่ใช้มาตรานี้อย่างพร่ำเพรื่อ มากมาก ใช้เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ ใช้ปิดกปากคนทื่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สถาบันทางด้านการเมือง นอกจากนี้คนที่ถูกจับกุมไม่ได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม ไม่ต้องพูดถึงกฎหมายที่อมนุษยธรรมมาก นี่เป็นประเทศที่บอกว่ารักสถาบันกษัตริย์ แต่มีกฎหมายที่โหดร้ายรุนแรงมากๆ และผมอายมากๆ ที่เป็นพลเมืองจากประเทศไทยที่ยังพูดอยู่ลอดเวลาว่าเราเป็นประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่เนื้อแท้ไม่ใช่”
อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ เจ้าของ รางวัลปาล์มทองคำ เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 63
“ผมพูดในฐานะคนสร้างภาพที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีกิจกรรมหลักคือการสร้างภาพ และเป็นประเทศที่ตอแหลใส่กันจนสร้างความลำบากแก่กันอย่างมาก เมื่อไหร่ที่ไทยจะเลิกตอแหลใส่กัน”
“เราทุกคนตอแหลกันจนเป็นสันดาล และในการตอแหลของเราสร้างความลำบากให้พี่น้องประชาชนอีกมากมาย มันเหมือนน้ำที่หยดลงหิน สิ่งที่เราไม่อยากทำแต่เราต้องทำ จนทำให้สามัญสำนึกของเราสึกกร่อน นี่คือสิ่งที่ผมอยากจะบอกว่าสิ่งสำคัญที่หายไปจากชีวิตเราก็คือสามัญสำนึก”
“เมื่อเรามาดูร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับต่างๆ ที่เราคุยกัน ผมคิดว่าทุกฉบับยังมีความไม่ชัดเจน หรือไม่ก็ปัดความเกี่ยวข้องกับนักโทษคดี 112 ไปเลย โดยระบุว่าให้ขึ้นอยู่กับศาลจะตีความว่าเกี่ยวกับการขัดแย้งทางการเมืองหรือไม่ ผมคิดว่าเราแสดงความขลาดและการเอาตัวรอดโดยหวังลมๆแล้งๆ ว่าศาลจะให้ความเป็นธรรมกับคนกลุ่มนี้ พวกคุณคิดหรือว่าเขาจะให้ความเป็นธรรมกับนักโทษ 112 แน่นอนสำหรับผมคดีนี้เป็นการเมืองยิ่งกว่าการเมืองอีก”
“รัฐได้กระทำอาชญากรรมทางความคิดแก่ประชาชน ในระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมานี้ รัฐได้ประโหมประโคมเยินยอภาพลักษณ์ขงสถาบันกษัตริย์จนล้นปรี่ จนทำให้ตรรกะต่างๆ มันวิบัติ แล้วคุณไม่คิดหรือในเวลา 50 ปี จะมีสักกลุ่มคนหนึ่ง ที่พยายามดึงให้ตรรกะเข้ารูปเข้ารอย หรือแม้จะถามคำถาม แต่สิ่บที่รัฐทำกับคนพวกนี้ ก็คือการอ้างว่าละเมิด ปิดปาก จับเข้าคุก นี่คือความเสื่อมในสำนึกของรัฐอย่างหนึ่ง”
“ผมอยากจะเห็นศาลที่เชิดชูการเห็นต่าง เราไม่จำเป็นต้องปรองดอง ตัวผมผมไม่อยากปรองดองกับใครเลย คือเราอยู่ด้วยกันได้ คุณมีสิทธิพูดเขียนทำหนัง จะเชิดชูฝักใฝ่พรรคการเมืองไหนคุณก็แสดงออกมาคุณต้องโชว์ออกมา แล้วเราไม่เห็นชอบร่วมกันก็ไม่ทำให้ชาติสลาย”
“ที่ผ่านมานักโทษการเมืองเราเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จากนักโทษการมเองที่เป็นเจ้า สมัยกบฎบวรเดช จนถึงนักศึกษา จนเป็นนักเขียน นักคิด จนถึงขณะนี้นักโทษการเมืองส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้าน ผู้ซึ่งสำนึกแล้วว่าตนเองเป็นเจ้าของประเทศที่แท้จริง”
“สังคมไทยมีอาการสามัญสำนึกเสื่อม เราอยู่ในประเทศไทยเหมือนตกนรก เราร่วมชะตากรรมและคนทั้งประเทศอยู่กับเรา ให้เราได้คิดว่าอะไรคือความเป็นไทย อะไรคือความเมตตาอย่างแท้จริง พรบ. นิรโทษกรรมเป็นหนึ่งในการแก้ปมที่บรรพบุรุษและเราได้สร้างขึ้นมาเพื่อที่จะบีบรัดกันและกัน เราต้องสร้างรัฐที่เคารพความเป็นคน ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเชื่อสิ่งใดก็ตาม และเมื่อนั้นเราจะได้เป็นอิสระอย่างแท้จริง”
อภินันท์ บัวหภักดี นักเขียน-ช่างภาพ อนุสาร อสท. อดีตนักโทษการเมืองจาก ม.112 สมัย 6 ต.ค.19
“ในการทำสงครามสมัยก่อนถ้าแฟร์ๆกันจริงๆ หัวหน้าต่อหัวหน้าเขาก็มาสู้กัน เขาไม่ปล่อยให้ลูกน้องเป็นอะไร หวัหน้าต่อหัวหน้ามาฟันกันเลย เพราะฉะนั้นบรรดาหญ้าแพรกทั้งหลายปล่อยเขาไปเถอะครับ ช้างสารชนกันก็ให้ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็ปล่อยเขาไปเถอะครับ”
วาสนา มาบุษย์ มารดาของนักโทษการเมือง นส.ปัทมา มูลมิล
“ตลอดสามปีไม่เคยได้รับความเป็นธรรม ไม่เคยได้รับการประกันตัว ศาลก็ไม่เคยไต่สวนว่าลูกสาวทำผิดอะไร ตำรวจ ก็จับตามสำนวน อยากขอร้องผู้มีอำนาจให้ปล่อยลูกสาวดิฉันด้วย”
สุดา รังกุพันธ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะแกนนำกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลและกลุ่ม 29 ม.ค.หมื่นปลดปล่อย
“การนิรโทษกรรมไม่มีรายละเอียดมากมายที่เราจะต้องมาถกเถียง มีแค่หัวใจของคุณที่เป็นมนุษย์คนหนี่งก็พอแล้วค่ะ”
“ภาพของการจับกุมที่ใช้เจ้าหน้าที่ทหารแทนที่จะใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจตามภาวะปกติ เป็นต้นทางของความอยุติธรรมทั้งปวง เราคงไม่ต้องบอกว่าทำไมเราถึงเรียกร้องการนิรโทษกรรม เมื่อต้นทางมันไม่เคยเป็นธรรม”
“การปล่อยนักโทษการเมืองไม่เพียงแค่คืนความเป็นธรรมให้กับพวกเขา นักสู้ที่มีความปราถนาดีต่อประเทศชาติเท่านั้น แต่มันกำลังจะเป็นก้าวแรกของสังคมไทยที่จะสามารถร่วมมือกันได้ในทุกๆฝ่าย จะเป็นก้าวแรกของการปรองดองที่จะทำให้สังคมไทยกลับมาไว้เนื้อเชื่อใจกันอีกครั้ง”
ธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์ประจำคณะประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน สหรัฐอเมริกา
“มีเหตุผลอยู่ร้อยแปดพันเก้า แต่สุดท้ายแล้วประมวลได้เหตุผลเดียวเท่านั้นคือ ความอยุติธรรม ความอยุติธรรมปรากฏตั้งแต่เรื่องการนิรโทษกรรมในเมืองไทยที่หลายครั้งเป็นการนริโทษกรรมให้กับผู้ก่อรัฐประหาร เป็นการนิรโทษกรรมให้กับผู้ก่อความขัดแย้งกันเอง ผู้มีอำนาจกันเอง มันสะท้อนว่ามีชนชั้นคนที่ไม่เท่ากันในสังคม เมื่อไหร่ทีเป็นความขัดแย่งในหมู่ชนชั้นนำ ผู้มีอำนาจกันเองเขานิรโทษกรรมกันเองง่ายเหลือเกิน โดยเฉพาะการก่อรัฐประหารทีเป็นความผิดฐานกบฏ เป็นความผิดที่ลบล้างกันได้ แต่ถ้าคุณเกิดผิดชนชั้นการะทำการกระด้างกระเดื่องต่อรัฐ ตอบโต้ความอยุตธิรรมของรัฐ คุณถูกจับดำเนินความผิด การลบล้างนั้นยากเหลือเกิน”
“การดำรงอยู่ของกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างทีผ่านมาก็สะท้อนภาพสังคมคือความอยุติธรรมเหล่านี้เป็นพื้นฐาน การกระทำใดๆ ที่จะได้รับนิรโทษกรรมนั้นขึ้นกับชนชั้น ความอยุตธิรรมประการที่สองที่สำคัญมาก คือกระบวนการยุติธรรม แต่ทุกวันนี้เราน่าจะพูดกันชัดๆ ว่ากระบวนการยุติธรรมอันไม่เที่ยงธรรมซึ่งคือกระบวนกรรอยุติธรรม”
“ปัญหานักโทษการเมืองหรือการนิรโทษกรรมมีหลักง่ายๆ คือเมื่อไหร่มีนักโทษการเมือง ควรจะปล่อย เพราะในประเทศอารยะ ประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย ถ้าอยากให้เชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยไม่ควรมีนักโทษการเมือง ถ้าหากรัฐบาลนี้ยอมรับหรือรัฐบาลไหนก็แล้วแต่ยอมรับว่ามีนักโทษการเมืองก็ต้องปล่อย เพราประเทศที่ต้องการจะเป็นประชาธิปไตยไม่ต้องมีนักโทษการเมือง และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการลงโทษคนอันเนื่องมารจากเหตุผลทางการเมืองหรือคาวมคิดที่แตกต่างกัน ถ้าต้องการเป็นประเทศอารยะ ถ้าพยายามจะเป็นประชาธิปไตย คำตอบคือปล่อยทันที เพราะคนเหล่านี้ไม่มีความผิด”
“ทำไมในต่างประเทศจึงสนใจคดี 112 มองเป็นเลนส์ในการมทองประเทศไทยเพราะต้องการดูว่าประเทศไทยจะสามารถลบล้างความป่าเถื่อนที่ดำรงอยู่ได้หรือเปล่า คุณอาจจะด่าว่าเขาไม่เข้าใจความเป็นไทย ผมคิดว่าเขาไม่สนใจ เขามองว่าประเทศไทยยังป่าเถื่อนอยู่”
“ถ้ากระบวนการยุติธรรมทีเป็นธรรมมีอยู่จริง เราไม่ต้องกลัว แต่เพราะกระบวนการมันไม่ยุติธรรม เพราะกระบวนการยุติธรรมเชื่อถือไม่ได้ เพราะกระบวนการยุติธรรมไม่เป็นที่พึ่งกุญแจอยู่ตรงนี้ กระบวนการยติธรรมที่คนดำเนินไปและจัดการได้ แต่เราเห้นอยู่ว่กระบวนกรยติธรรมในประเทศไทยเป็นอย่างไร เอื้ออำนวยให้ผ็มีอำนาจ เอื้ออำนวยให้ชนชั้นหนึ่ง แม้แต่คนที่ตอบโต้กับการกระทำของรัฐที่ไม่ยุติธรรม ก็ยากเหลือเกินที่จะเคลียร์ความผิดให้คนเหล่านี้”
“ตุลาการของไทยยึดฝ่าย ยึดอำนาจ ยึดว่าตัวเองเป็นตุลาการของพระราชา แต่ต้องยึดหลักเดียวคือหลักยุติธรรม ความเที่ยงธรรม แต่กรณีที่เกี่ยวกับกฎหมายความมั่นคง ตุลาการของไทยยึดหลักเข้าข้างอำนาจ นี่เป็นมาตลอดก่อนยุคเสื้อแดงหลายทศวรรษแล้ว ตัวอย่างง่ายๆ ที่นานาชาติไม่เข้าใจคือการไม่ยอมให้ประกันตัว นี่เป็นเรื่องแสนสามัญ เรื่อวที่สุดแสนจะเบื้องต้น แต่การไม่ให้ประกันไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดกับเสื้อแดง”
“คนเหล่านี้ไม่ควรอยู่ในคุกอยู่แล้ว ถ้าหากมองย้อนกลับมา การนิรโทษกรรมที่ผมหวังว่าจะเกิดขึ้นคือการคืนสามัญสำนึกกลับสู่สภาวะที่ควรจะเป็น คือการคืนความยุติธรรม ไม่ใช่การลบล้างความผิดให้แก่ผู้ชุมนุม”
No comments:
Post a Comment