"ครม.ปู5"ยิ่งลักษณ์เบ็ดเสร็จ พลิกเกม"รับจำนำข้าว"
สิ่ง ที่น่าสนใจและต้องชื่นชมการจัดโผครม.ปู 5 เที่ยวนี้ คือ สามารถสลาย "กลุ่มก๊วน" และ "มุ้ง" การเมืองสำเร็จระดับหนึ่ง เห็นจากโควตา ส.ส.อีสาน มี ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข ที่ได้อยู่ในครม.เพียงคนเดียว หรือกรณี "เผดิมชัย สะสมทรัพย์" ตระกูลการเมืองใหญ่พ้นตำแหน่งรัฐมนตรีแรงงาน
ภาพลักษณ์ครม.ปู 5 ยังปลอดจากอิทธิพลพี่ชายพี่สาว สะท้อนจากกรณี คนใกล้ชิดต้องหลุดจากเก้าอี้แบบไม่มีเยื่อใย
น่า สนใจอย่างยิ่งที่ "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" ดึง "ปวีณา หงสกุล" มานั่งเก้าอี้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และ "จาตุรนต์ ฉายแสง" มานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาฯ เป็น "ครีมหน้าเค้ก" ย่อมทำให้ภาพลักษณ์ ครม.ชุดนี้ดูดีกว่าชุด "ปาร์ตี้ของมือสมัครเล่น" อย่างมิอาจปฏิเสธได้
แต่ถ้าอ่านไพ่โผการจัดครม.ปู 5 ครั้งนี้ หากจะ "โฟกัส" ไปเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจมี 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ เพื่อแก้ปัญหาการ จัดเก็บรายได้เข้ารัฐที่หลุดเป้าค่อนข้างมาก จึงดึง "เบญจา หลุยเจริญ" ที่เคยผ่านกรมใหญ่ๆ อย่างสรรพากรและศุลกากร มาเสริม "กิตติรัตน์" ที่ถนัดแต่ภาพรวมและตลาดทุน
แต่ทัพใหญ่จริงๆ ถึงขั้นระดมคนใกล้ชิดที่วางใจได้มาดูแลเพื่อมาแก้เกมโครงการจำนำข้าวที่เสีย หายและเสียรังวัดเอามากๆ โดยโยกเอา "นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล" มานั่งเก้าอี้รมว.พาณิชย์ แต่ด้วยบุคลิกสุภาพ ออกไปแนวธรรมะธัมโม อายุก็ค่อนข้างมาก อาจจะเอาพ่อค้า ข้าราชการไม่อยู่ จึงต้องเอามือเก๋า ขาลุยลูกล่อลูกชนแพรวพราวเข้าตาพรรคเพื่อไทยอย่าง "ยรรยง พวงราช" อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ มาเป็นรมช.พาณิชย์ประกบแต่คงต้องลุ้นว่าบารมียังพอเหลืออยู่หรือไม่
ขณะ เดียวกันก็ดัน "วราเทพ รัตนากร" ที่น่าจะขึ้นชั้นว่าการคลังหรือพาณิชย์แต่กลับมาควบรมช.เกษตรฯ เพื่อแก้ปัญหาการประสานงานระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กับพาณิชย์ซึ่งที่ผ่านมารู้ๆ กันอยู่ว่าเหมือน "ขมิ้นกับปูน"
ส่วน คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ก็มอบหมายให้ กิตติรัตน์ เป็นประธานเพื่อคุมภาพรวมถือว่าเที่ยวนี้ "ทีมข้าว" แพ็กกันแน่นปึ้ก แต่จะเอาอยู่หรือไม่ คงต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด
ตราบใดที่ปล่อยให้ ไอ้โม่ง 2-3 ก๊วน ก๊วนหนึ่งเป็นนักการเมืองมีญาติทำธุรกิจค้าข้าวส่งออก อีกคนมีญาติทำธุรกิจข้าวในต่างจังหวัด ทำตัวเป็นไอ้โม่งหากินกับโครงการรับจำนำข้าว แบบไม่กลัวใคร และไม่มีใครกล้าจัดการ
โอกาสที่จะแก้เกมโครงการรับจำนำข้าวเพื่อเรียกคะแนนกลับคืนมาคงยาก
ข่าวเกี่ยวข้อง
รูปขบวน รัฐบาล โครงการ จำนำ ข้าว เดินหน้า เต็มพิก...
ในที่สุดคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ "กขช." สรุปผลการขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวเบ็ดเสร็จทั้งนาปี 2554/55 และนาปรัง 2555 เม็ดเงิน 1.3 แสนล้านบาท และมีมติให้ลดราคาจำนำข้าวลงเหลือตันละ 1.25-1.3 หมื่นบาท ลดปริมาณข้าวเปลือกเหลือ 15 ล้านตัน
ไม่ให้เป็นภาระงบประมาณมากเกินไป เพื่อรักษากรอบวินัยการคลังไม่ให้ขาดทุนเกิน 7 หมื่น-แสนล้านบาท
ทันทีที่เห็นมติ กขช.รู้ทันทีว่ามาตรการที่ออกมาไม่ได้แก้ปัญหาและจะมีปัญหาใหม่ตามมาแน่ๆ เพราะเคยตั้งราคาไว้สูงลิบ วันดีคืนดีก็มาลดราคารับซื้อลง อีกตันละ 2.5-3 พันบาท แถมเที่ยวนี้กำหนดปริมาณจากเดิมที่รับจำนำทุกเม็ด ซึ่งแก้ปัญหาแบบสุกๆ ดิบๆ ครึ่งๆ กลางๆ เกาไม่ถูกที่คัน ปัญหาจริงๆ มันไม่ได้อยู่แค่ "ราคารับจำเว่อร์จนทำลายตลาดส่งออกข้าว" แต่มันอยู่ที่ยุทธศาสตร์คือนโยบายรับจำนำที่ไม่เวิร์กในตัวของมันเอง ราคาเท่าไหร่ก็ไม่เวิร์ก ปัญหาใหญ่ที่สุดของการรับจำนำคือ "ทุจริต" คนที่ได้ประโยชน์คือโรงสี ไม่ใช่ชาวนา
แต่ที่กลายเป็น "สัมภาระ" อีกตัวคือ "ค่าบริหารจัดการ" ทั้งค่าดอกเบี้ย ค่าเช่าโกดัง ค่าแปรสภาพข้าว ค่าขนส่ง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผยว่าในฤดูการผลิต 2554/55 และนาปรังปี2556 มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ราวๆ 3.8 หมื่นล้านบาท
แม้ว่าลดราคาลงมา "ค่าบริหารจัดการ" ที่ไปตกอยู่กับโรงสี ขนส่ง ก็ยังเท่าเดิม หากลดปริมาณรับจำนำเหลือ 15 ล้านตันข้าวเปลือก อาจจะลงนิดหน่อยราวๆ 2 หมื่นกว่าล้านบาท
"ค่าบริหารจัดการ" คือส่วนที่ชาวนาไม่ได้ประโยชน์
ในช่วงที่รัฐบาลเปิดรับจำนำข้าวนาปี ปี 2554/55 ต้นทุนการผลิตของชาวนายังไม่ปรับตัวสูงขึ้น ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศยังไม่ใช้ ค่าไถนาก็ยังไม่ปรับ ค่าเช่านา (ภาคกลาง) ค่าปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ค่าสีข้าว ก็ยังไม่เพิ่ม
แต่ในฤดูการผลิตต่อมาต้นทุน ของชาวนาพาเหรดขึ้นไปดักรอล่วงหน้าไว้หมด ยิ่งค่าเช่านาในภาคกลางปรับเพิ่มขึ้นเท่าตัว ขณะที่ "ต้นทุนอื่นๆ" สูงขึ้นแทบทั้งสิ้น จากเดิมตอนเริ่ม โครงการใหม่ๆ ธ.ก.ส.คำนวณกำไรเฉลี่ยตันละ 4,000 บาท (ยังไม่โดนหักความชื้น) หลังจากที่ต้นทุนปรับตัวขึ้นกำไรจะเหลือไม่เกินตันละ 2 พันบาท แต่ราคารับซื้อของรัฐบาลล่าสุดลดลงจากเดิม 2.5-3 พันบาท อย่าพูดถึงกำไร ต้องถามว่าชาวนาขาดทุนเท่าไหร่
ความจริงทางออกก็มีแต่กลัวเสียเหลี่ยม...จึงหลับตาเดินหน้าจำนำต่อไป
ขอบคุณ : ทวี มีเงิน
--------------------------------------------------------------------------------------------
"เลิกจำนำข้าว"จ่ายตรงๆคุ้มกว่า
ทวี มีเงิน
ความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าวนอกเหนือจาก "การทุจริต" อันแยบยลแล้ว ปัญหาค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งเป็น "ค่าโสหุ้ย" กลายเป็นภาระอันหนักอึ้งของงบประมาณอย่างมิอาจปฏิเสธได้ เม็ดเงินจำนวนนี้ไม่เกี่ยวกับชาวนาแต่เป็น "ค่าบริหารจัดการ" เพราะหลักการจำนำต้องมีข้าวมาสำแดง ซึ่งสศค.ประเมินว่าค่าบริหารจัดการจำนำข้าวฤดูการผลิตปี 2554/55 และนาปรังปี 2555 เป็นเงิน 38,800 ล้านบาท ใช้สำหรับเป็นค่าเช่าโกดัง ค่าแปรสภาพข้าว ค่าเซอร์เวเยอร์ และดอกเบี้ย
ขณะเดียวกัน ต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าจ้างโรงสีอีก 11,800 ล้านบาท ค่ากระสอบป่านบรรจุข้าวต้องนำเข้าจากปากีสถาน บังกลาเทศ และอินเดีย โดยเฉลี่ยข้าว 1 ตันใช้ 6 ใบครึ่ง ข้าวที่รับจำนำมีทั้งหมด 21.7 ล้านตัน ต้องใช้ 120-130 ล้านใบ ตกใบละ 43 บาท รวมเป็นเงินค่าใช้จ่ายซื้อกระสอบป่าน ราวๆ 5,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีค่าขนส่งข้าวจากโกดัง โรงสีมายังโกดังของรัฐบาลแล้วขนไปยังท่าเรือเพื่อส่งออก ซึ่งเท่ากับต้องจ่ายค่าขนส่ง 2 ต่อ คิดเป็นเงินราวๆ 4,000 ล้านบาท
นั่นเท่ากับรัฐบาลต้องใช้เม็ดเงินถึง 59,600 ล้านบาท มาเป็นค่าบริหารจัดการและค่าใช้จ่ายอื่นที่เป็นองค์ประกอบในการรับจำนำ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับรายได้ของชาวนาโดยตรงส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือโรงสีไปแบบเต็มๆ
ก่อนที่รัฐบาลจะเริ่มโครงการรับจำนำข้าวตันละ 15,000 บาท ธ.ก.ส.เคยคำนวณรายได้สุทธิของชาวนาหากเข้าโครงการรับจำนำจะมีกำไรเฉลี่ยๆ ตันละ 4,000 บาท หากคิดจากปริมาณข้าวที่รับจำนำ 21.7 ตัน เม็ดเงินที่เป็นตัวกำไรตกไปอยู่ในกระเป๋าชาวนาแบบเต็มๆ เพียง 84,000 ล้านบาทจากงบประมาณในโครงการทั้งหมด 6.1 แสนล้านบาท
สมมติรัฐบาลไม่ใช้นโยบายจำนำข้าวราคาสูง 1.5 หมื่นบาท/ตัน ตั้งแต่ตอนแรก แต่ใช้นโยบาย "ประกันรายได้" ของชาวนาแทนเท่ากับว่ารัฐบาลใช้เงินไปแค่ 84,000 ล้านบาทเท่านั้น โดยผ่านบัญชีธ.ก.ส. ไปใส่กระเป๋าชาวนาตรงๆ ตันละ 4,000 บาท ไม่ต้องเสีย "ค่าโสหุ้ย" ที่เป็นค่าบริหารจัดการ ค่าขนส่ง ค่าจ้างโรงสี ค่าถุงใส่ข้าวที่ต้องนำเข้า
แต่ถ้ารัฐบาลใจป้ำ เอาเม็ด "ค่าโสหุ้ย" จำนวน 59,600 ล้านบาทไปเพิ่มให้ชาวนาโดยไปรวมกับ 84,000 ล้านบาท จะทำให้รัฐบาลมีเงินอุดหนุนชาวนาเป็นเงินเกือบๆ 144,000 ล้านบาท
ยิ่งหากจะให้เป็นธรรมอาจจะใช้วิธีชาวนารวย ชาวนาระดับปานกลางและชาวนายากจนอาจจะได้มากหน่อย ใช้เงินไม่ต้องเยอะ ชาวนาก็จะได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยดีกว่าจำนำสูงกว่าราคาตลาดเป็นไหนๆ
แต่อาจไม่ถูกใจเสือหิวและกลุ่มโรงสีที่หากินไม่ได้
ตำนาน 5 เสือส่งออกข้าว
No comments:
Post a Comment
เชิญแชร์ความคิดเห็นที่นี่ค่ะ