รายงานพิเศษ
โดย ธิติ มีแต้ม
มุ่งหน้าสู่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อึดใจเดียวก็ถึงไร่ธารเกษม บ้านของ "ลาว คำหอม" หรือ"คำสิงห์ ศรีนอก" นักเขียนวัย 82 ปี ที่คนส่วนใหญ่มักจดจำในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปีพ.ศ.2535 ผู้ประพันธ์เรื่องฟ้าบ่กั้น ลมแล้ง กระเตงลูกเลียบขั้วโลก ฟ้าไร้แดน เป็นต้น
ล่าสุดได้รับเลือกพร้อมกับ "พนมเทียน" หรือ"ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ" เจ้าของผลงาน"เพชรพระอุมา" เป็นนักเขียนรางวัลอมตะคนที่ 6 ประจำปี 2555 โดยมี "เสนีย์ เสาวพงศ์" ผู้ประพันธ์ "ปีศาจ" เป็นนักเขียนรางวัลอมตะคนที่ 1
คำประกาศรางวัลอมตะระบุถึง ลาว คำหอม ว่าเป็นนักเขียนที่สร้างมโนสำนึกในด้านสังคมและการ เมืองอย่างมีคุณค่า สร้างพลังให้แก่จิตวิญญาณของผู้อ่าน ด้วยกระบวนการแห่งชีวิตที่ลึกซึ้ง เข้าใจในปรากฏการณ์ที่เป็นไปในบริบทของสังคมประเทศ ด้วยภาพสะท้อนที่เต็มไปด้วยโลกทัศน์ และชีวทัศน์ที่เปิดกว้าง
ผลงานในเชิงวิพากษ์อันหนักแน่นของท่าน สร้างความสั่นสะเทือนต่อการรับรู้ ในความเป็นจริงของความรู้สึกจริงที่ยังคงติดตรึงอยู่กับความทรงจำ กระทั่งกลายเป็นหมุดหมายของการรังสรรค์
ผลงานวรรณกรรมของลาว คำหอม มีความหมายต่อชีวิต ทั้งในนามของความเป็นนักเขียนที่ยืนยง และในนามของความเป็นประชาชนที่มีหัวใจอันหยั่งลึกต่อการรับผิดชอบบนวิถีศรัทธาที่น่ายกย่อง การให้รางวัลแก่ลาว คำหอม ก็ด้วยเหตุว่าชีวิตและงานของท่าน คือการทำให้ผู้คนได้เห็นทั้งร่างและวิญญาณของสังคมไทยอย่างซื่อตรงลึกซึ้ง
บ้านของลาว คำหอม เป็นไม้ชั้นเดียวหลังเล็ก ปลูกอยู่ใต้ร่มต้นยางนาที่สูงราวตึก 5 ชั้น โอบล้อมด้วยป่าไผ่และเถาวัลย์ใหญ่น้อยบนพื้นที่กว่า 60 ไร่ เขียวเย็นตาและสงบเงียบ มีโต๊ะม้าหินตั้งข้างริมธารดูเรียบง่าย
ไม่นาน ลุงคำสิงห์ที่เพิ่งกลับจากเดินเที่ยวในไร่เป็นกิจวัตรก็นั่งลง เริ่มต้นบทสนทนาอย่างเป็นกันเองว่า หลายวันก่อนมีกลุ่มนักเขียน อินโดจีน จากลาวและเวียดนามมาเยี่ยมเยือนที่ไร่ธารเกษมนี้ บางคนเป็นอาจารย์สอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัย ใช้วรรณกรรมเรื่องฟ้าบ่กั้นสอนหนังสือเด็กๆ จนได้รับคำถามถึงที่มาที่ไปของเรื่องฟ้าบ่กั้น ทำให้ลุงคำสิงห์ครุ่นคิดและหาคำตอบ
"ผมอธิบายให้พวกเขาฟังว่า นักบวชสมัยก่อนได้จีวรมาจากศพ จึงช่วยให้เพ่งพินิจถึงความตาย เรียกว่าบังสุกุลตาย แต่ตอนผมเป็นเด็กวัด คนมีความทุกข์ร้อนมาขอให้พระช่วยต่ออายุโดยเอาผ้าคลุมตัว พระก็สวดอนิจจาให้ เขาสบายใจแล้วกลับบ้านไป เขาเรียกบังสุกุลเป็น
ผมจึงอยากให้คนได้อ่านงานของผม เหมือนกำลังพิเคราะห์ความ ไม่เที่ยงทั้งหลาย เพราะผมเคยได้ฟังเรื่องจากพ่อค้าวัวค้าควายที่จะไปกรุงเทพฯ เมื่อจะข้ามดงพญาเย็นเขาต้องสะพายหม้อไปด้วย หากเจอโรคระบาดตายจะได้ให้เพื่อนเก็บกระดูกใส่หม้อส่งกลับบ้านให้ ผมเห็นความหวังและการต่อสู้เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดจากความลำบากของพวกเขา" ลุงคำสิงห์หลับตา ทำท่าวาดมือไปในอากาศคล้ายกำลังนึกถึงภาพเหตุการณ์นั้น
ราวปีพ.ศ.2494 คำสิงห์ ศรีนอก เริ่มเขียนเรื่องราวของเด็กวัด ในนามปากกา "ค.ส.น." ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ทุกวันจันทร์ ก่อนจะหัดเขียนงานวรรณกรรมแนวเพื่อชีวิต ตามแนวทางของ "ศรีบูรพา"กุหลาบ สายประดิษฐ์ และ "อิศรา อมันตกุล" นักเขียนนักหนังสือพิมพ์ วาดหวังตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ปิยมิตร เหมือนกับนักเขียนรุ่นพี่ดังกล่าว แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากต้นสังกัด
อีกปีต่อมา ปัญหาด้านสุขภาพและค่าครองชีพอันน้อยนิด ทำให้ต้องหยุดเขียนหนังสือ และไปเป็นพนักงานป่าไม้ที่ อ.ลี้ จ.เชียงใหม่ ในขณะนั้น เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้ขึ้นรถไฟ และเข้าไปใช้ชีวิตกลางป่าลึก โดยมีวารสารสยามสมัยไว้ให้อ่านเรื่องปีศาจของเสนีย์ เสาวพงศ์ นักเขียนในดวงใจที่ลุงคำสิงห์เรียกว่า "พี่เส"
เมื่อชนชั้นสูงได้รับสัมปทานป่าไม้ต่อจากบริษัทบอมเบย์เบอร์มา ของอังกฤษหลังสงครามโลก บวกกับภาพการเลี้ยงดูปูเสื่อ เจ้านายของพ่อเลี้ยงเมืองเหนือ ด้วยวิธีนำลูกสาวชาวบ้านมาให้ กลายเป็นคำถามถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และรู้สึกถึงความล้าหลังที่ซ่อนอยู่ ความอยากเขียนหนังสือที่ซุกซ่อนอยู่ในใจก็กลับมาอีกครั้ง
ปีพ.ศ.2499 ลุงคำสิงห์จึงลาออกจากพนักงานป่าไม้ มาเป็นผู้ช่วยนักวิจัยศูนย์ค้นคว้ามหาวิทยาลัยคอร์แนล ประจำประเทศไทย และตั้งนามปากกา ลาว คำหอม ขึ้นในช่วงเวลานั้น รายได้จากการเป็นผู้ช่วยนักวิจัย ทำให้มีทุนซื้อที่ดินใน อ.ปากช่อง หยิบจอบประกอบอาชีพชาวไร่ไปพร้อมๆ กับการเขียนหนังสือ
ลุงคำสิงห์กล่าวถึงอาจารย์ดำเนิน การเด่น นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกัน เชื้อชาติไทย ผู้เขียนพจนานุกรมไทย-อังกฤษ ซึ่งอาจารย์ดำเนินมักปรึกษาลุงคำสิงห์ถึงความหมายของศัพท์พื้นบ้านอีสาน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ "ชนิด สายประดิษฐ์" คู่ชีวิตของศรีบูรพากำลังแปลเรื่อง"เหยื่ออธรรม" วรรณกรรมฝรั่งเศสของ "วิกเตอร์ อูโก" ก็ได้อาจารย์ดำเนินคอยชี้แนะเรื่องการแปล ทำให้ลุงคำสิงห์มีโอกาสพบศรีบูรพาตัวจริง
เรื่องสั้นโดยลาว คำหอม แจ้งเกิดในหนังสือพิมพ์ปิยมิตรวันจันทร์ โดยมีศรีบูรพาเป็นผู้ผลักดัน จากนั้นฟ้าบ่กั้นก็ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยอาจารย์ดำเนิน พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ออกซ์ฟอร์ด
"ผมตั้งสำนักพิมพ์เกวียนทอง และพิมพ์ฟ้าบ่กั้นในปี 2501 เป็นปีที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหาร ใช้กฎหมายมาตรา 17 ประหารชีวิตคนอย่างมันมือ เมื่อหนังสือฟ้าบ่กั้นถูกจับตาว่าเนื้อหาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ก็ได้มาลัย ชูพินิจ นักเขียนนักหนังสือพิมพ์ช่วยเคลียร์กับ พล.ต.อ.พจน์ เภกะนันทน์ ผู้บังคับการสันติบาลในขณะนั้น ท่านว่าให้เอาออกจากแผงหนังสืออย่าให้ประเจิดประเจ้อ จนต้องเก็บมากองทิ้งไว้ที่บ้าน"
หนังสือฟ้าบ่กั้นถูกนำกลับมาพิมพ์อีกครั้ง โดยสำนักพิมพ์ศึกษิตสยามในปีพ.ศ.2512 และถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวางเมื่อ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในขณะนั้นก่อตั้งมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย สนับสนุนให้นักศึกษาที่สนใจสังคมชนบทลงพื้นที่เรียนรู้ โดยมีหนังสือฟ้าบ่กั้นเสมือนคู่มือติดตัวไปด้วย
จวบจนผ่านเหตุการณ์ขับไล่จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อ 14 ตุลา 2516 ลุงคำสิงห์ได้รับเลือกให้เป็นรองประธานพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย โดยมี ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน มิตรสหายรุ่นน้องเป็นเลขาธิการพรรค ร่วมกันก่อตั้งในปีพ.ศ.2517
จนกระทั่งขบวนการสังคมนิยมเริ่มเติบโต ย่างเข้าปีพ.ศ.2519 ฝ่ายอนุรักษนิยมล้าหลัง เริ่มจับจ้องคล้ายดั่งเงาตามตัว รุนแรงถึงขั้นไล่ล่า และฆ่าผู้นำความคิดฝ่ายประชาธิปไตย
บ้านของลุงคำสิงห์ก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ถูกใส่ร้ายว่าเป็นที่ซ่องสุมคอมมิวนิสต์
"สิ่งที่ผมสะเทือนใจเวลาคิดถึงบุญสนอง คือ สองสัปดาห์ก่อนเขาจะถูกยิงตาย เขามาหาผมที่ไร่นี้แล้วคลี่รายชื่อผู้ที่ถูกสั่งตายให้ดู ในรายชื่อต้นๆ มีตัวเขากับอาจารย์ป๋วย ส่วนชื่อผมห่างลงไปอีก 2-3 ชื่อ เขาหน้าซีดเซียวบอกพี่คำสิงห์ครับ ผมอยากเข้าป่าถ้าอยู่ต่อไปคงตายแน่
ผมบอกบุญสนองว่าใจเย็นๆ คนไม่ใช่เป็ดไก่จะฆ่าแกงกันง่ายๆ นายเป็นสุจริตชนไม่มีใครทำอะไรหรอก เขาเชื่อผมและกลับกรุงเทพฯ ไป พอทราบข่าวว่าถูกยิงผมเศร้าสลดมาก" ลุงคำสิงห์พูดจบแล้วลุกเดินไปหยิบภาพข่าวในช่วงเหตุการณ์ล้อมฆ่า 6 ตุลา 19 มาให้ดู แล้วเล่าว่าปัจจุบันนี้การใส่ร้ายป้ายสีประชาชนว่าเป็นพวกก่อการร้ายก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม
"มีภาษาไทยเพิ่งเกิดขึ้นในภาษากฎหมาย คือคำว่า ขยายผล การพูดในที่สาธารณะจะพูดครึ่งๆ กลางๆ ไม่ได้ เหมือนพูดเสื้อดำเผาบ้านเผาเมือง เกิดจากการขยายผล พูดคะนองปาก"
ลุงคำสิงห์ลี้ภัยไปอยู่สวีเดนหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 และกลับมาเมืองไทยอีกครั้งในปีพ.ศ.2524 ติดตามความเคลื่อนไหวทางสังคม ตั้งแต่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ถึงรัฐ ประหาร 19 กันยาฯ 2549
จนถึงเหตุการณ์ปราบปรามคนเสื้อแดงครั้งแรกในเดือนเม.ย.2552 ที่สามเหลี่ยมดินแดง กระทั่งล่าสุดเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค. 2553
โดยลุงคำสิงห์ได้ร่วมลงชื่อกับนักเขียน รุ่นน้อง อาทิ วัฒน์ วรรลยางกูร, ไม้หนึ่ง ก.กุนที, วาด รวี และวรพจน์ พันธุ์พงศ์ เพื่อต่อต้านการปราบปรามของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
และเมื่อกลุ่มนิติราษฎร์ได้นำเสนอร่างแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ออกสู่สังคมในปีพ.ศ.2554 เนื่องจากขัดกับหลักการประชาธิป ไตย และถูกนำมาใช้กลั่นแกล้งทางการเมือง จนมีประชาชนได้รับผลกระทบ ลุงคำสิงห์ก็ร่วมลงชื่อสนับสนุนแก้ไขกฎหมายนี้ในนาม "คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112" หรือ ครก.112 ด้วย
"ไม่นานนี้มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองคนหนึ่ง มาหาผม เขาถามถึงทางออกจากวิกฤตความขัดแย้งในปัจจุบัน ผมบอกท่านไปว่าผมเชื่อว่าความเป็นประชาธิปไตยจะช่วยให้ผ่านพ้นปัญหาที่รุมเร้าไปได้"
เป็นคำตอบของ "คำสิงห์ ศรีนอก" นักเขียนฝ่ายประชาธิปไตย
ล่าสุดได้รับเลือกพร้อมกับ "พนมเทียน" หรือ"ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ" เจ้าของผลงาน"เพชรพระอุมา" เป็นนักเขียนรางวัลอมตะคนที่ 6 ประจำปี 2555 โดยมี "เสนีย์ เสาวพงศ์" ผู้ประพันธ์ "ปีศาจ" เป็นนักเขียนรางวัลอมตะคนที่ 1
คำประกาศรางวัลอมตะระบุถึง ลาว คำหอม ว่าเป็นนักเขียนที่สร้างมโนสำนึกในด้านสังคมและการ เมืองอย่างมีคุณค่า สร้างพลังให้แก่จิตวิญญาณของผู้อ่าน ด้วยกระบวนการแห่งชีวิตที่ลึกซึ้ง เข้าใจในปรากฏการณ์ที่เป็นไปในบริบทของสังคมประเทศ ด้วยภาพสะท้อนที่เต็มไปด้วยโลกทัศน์ และชีวทัศน์ที่เปิดกว้าง
ผลงานในเชิงวิพากษ์อันหนักแน่นของท่าน สร้างความสั่นสะเทือนต่อการรับรู้ ในความเป็นจริงของความรู้สึกจริงที่ยังคงติดตรึงอยู่กับความทรงจำ กระทั่งกลายเป็นหมุดหมายของการรังสรรค์
ผลงานวรรณกรรมของลาว คำหอม มีความหมายต่อชีวิต ทั้งในนามของความเป็นนักเขียนที่ยืนยง และในนามของความเป็นประชาชนที่มีหัวใจอันหยั่งลึกต่อการรับผิดชอบบนวิถีศรัทธาที่น่ายกย่อง การให้รางวัลแก่ลาว คำหอม ก็ด้วยเหตุว่าชีวิตและงานของท่าน คือการทำให้ผู้คนได้เห็นทั้งร่างและวิญญาณของสังคมไทยอย่างซื่อตรงลึกซึ้ง
บ้านของลาว คำหอม เป็นไม้ชั้นเดียวหลังเล็ก ปลูกอยู่ใต้ร่มต้นยางนาที่สูงราวตึก 5 ชั้น โอบล้อมด้วยป่าไผ่และเถาวัลย์ใหญ่น้อยบนพื้นที่กว่า 60 ไร่ เขียวเย็นตาและสงบเงียบ มีโต๊ะม้าหินตั้งข้างริมธารดูเรียบง่าย
ไม่นาน ลุงคำสิงห์ที่เพิ่งกลับจากเดินเที่ยวในไร่เป็นกิจวัตรก็นั่งลง เริ่มต้นบทสนทนาอย่างเป็นกันเองว่า หลายวันก่อนมีกลุ่มนักเขียน อินโดจีน จากลาวและเวียดนามมาเยี่ยมเยือนที่ไร่ธารเกษมนี้ บางคนเป็นอาจารย์สอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัย ใช้วรรณกรรมเรื่องฟ้าบ่กั้นสอนหนังสือเด็กๆ จนได้รับคำถามถึงที่มาที่ไปของเรื่องฟ้าบ่กั้น ทำให้ลุงคำสิงห์ครุ่นคิดและหาคำตอบ
1.ถูกใส่ร้ายพร้อมกับอาจารย์ป๋วย 2.ถูกทางการค้นบ้านเมื่อปี 2519 3.กับหมาที่เลี้ยงไว้ในไร่ 4.ภายในบริเวณเรือนนอน 5.โต๊ะทำงานเขียนหนังสือ 6.เดินชมไร่เป็นกิจวัตร 7.นำภาพข่าวช่วงปี 2519 ที่ถูกใส่ร้ายมาให้ดู |
"ผมอธิบายให้พวกเขาฟังว่า นักบวชสมัยก่อนได้จีวรมาจากศพ จึงช่วยให้เพ่งพินิจถึงความตาย เรียกว่าบังสุกุลตาย แต่ตอนผมเป็นเด็กวัด คนมีความทุกข์ร้อนมาขอให้พระช่วยต่ออายุโดยเอาผ้าคลุมตัว พระก็สวดอนิจจาให้ เขาสบายใจแล้วกลับบ้านไป เขาเรียกบังสุกุลเป็น
ผมจึงอยากให้คนได้อ่านงานของผม เหมือนกำลังพิเคราะห์ความ ไม่เที่ยงทั้งหลาย เพราะผมเคยได้ฟังเรื่องจากพ่อค้าวัวค้าควายที่จะไปกรุงเทพฯ เมื่อจะข้ามดงพญาเย็นเขาต้องสะพายหม้อไปด้วย หากเจอโรคระบาดตายจะได้ให้เพื่อนเก็บกระดูกใส่หม้อส่งกลับบ้านให้ ผมเห็นความหวังและการต่อสู้เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดจากความลำบากของพวกเขา" ลุงคำสิงห์หลับตา ทำท่าวาดมือไปในอากาศคล้ายกำลังนึกถึงภาพเหตุการณ์นั้น
ราวปีพ.ศ.2494 คำสิงห์ ศรีนอก เริ่มเขียนเรื่องราวของเด็กวัด ในนามปากกา "ค.ส.น." ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ทุกวันจันทร์ ก่อนจะหัดเขียนงานวรรณกรรมแนวเพื่อชีวิต ตามแนวทางของ "ศรีบูรพา"กุหลาบ สายประดิษฐ์ และ "อิศรา อมันตกุล" นักเขียนนักหนังสือพิมพ์ วาดหวังตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ปิยมิตร เหมือนกับนักเขียนรุ่นพี่ดังกล่าว แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากต้นสังกัด
อีกปีต่อมา ปัญหาด้านสุขภาพและค่าครองชีพอันน้อยนิด ทำให้ต้องหยุดเขียนหนังสือ และไปเป็นพนักงานป่าไม้ที่ อ.ลี้ จ.เชียงใหม่ ในขณะนั้น เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้ขึ้นรถไฟ และเข้าไปใช้ชีวิตกลางป่าลึก โดยมีวารสารสยามสมัยไว้ให้อ่านเรื่องปีศาจของเสนีย์ เสาวพงศ์ นักเขียนในดวงใจที่ลุงคำสิงห์เรียกว่า "พี่เส"
เมื่อชนชั้นสูงได้รับสัมปทานป่าไม้ต่อจากบริษัทบอมเบย์เบอร์มา ของอังกฤษหลังสงครามโลก บวกกับภาพการเลี้ยงดูปูเสื่อ เจ้านายของพ่อเลี้ยงเมืองเหนือ ด้วยวิธีนำลูกสาวชาวบ้านมาให้ กลายเป็นคำถามถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และรู้สึกถึงความล้าหลังที่ซ่อนอยู่ ความอยากเขียนหนังสือที่ซุกซ่อนอยู่ในใจก็กลับมาอีกครั้ง
ปีพ.ศ.2499 ลุงคำสิงห์จึงลาออกจากพนักงานป่าไม้ มาเป็นผู้ช่วยนักวิจัยศูนย์ค้นคว้ามหาวิทยาลัยคอร์แนล ประจำประเทศไทย และตั้งนามปากกา ลาว คำหอม ขึ้นในช่วงเวลานั้น รายได้จากการเป็นผู้ช่วยนักวิจัย ทำให้มีทุนซื้อที่ดินใน อ.ปากช่อง หยิบจอบประกอบอาชีพชาวไร่ไปพร้อมๆ กับการเขียนหนังสือ
1.บ้านไม้ชั้นเดียวใจกลางธรรมชาติ 2.ลานรับแขกริมลำธาร 3.ลานจัดกิจกรรมสังสรรค์เสวนา |
ลุงคำสิงห์กล่าวถึงอาจารย์ดำเนิน การเด่น นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกัน เชื้อชาติไทย ผู้เขียนพจนานุกรมไทย-อังกฤษ ซึ่งอาจารย์ดำเนินมักปรึกษาลุงคำสิงห์ถึงความหมายของศัพท์พื้นบ้านอีสาน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ "ชนิด สายประดิษฐ์" คู่ชีวิตของศรีบูรพากำลังแปลเรื่อง"เหยื่ออธรรม" วรรณกรรมฝรั่งเศสของ "วิกเตอร์ อูโก" ก็ได้อาจารย์ดำเนินคอยชี้แนะเรื่องการแปล ทำให้ลุงคำสิงห์มีโอกาสพบศรีบูรพาตัวจริง
เรื่องสั้นโดยลาว คำหอม แจ้งเกิดในหนังสือพิมพ์ปิยมิตรวันจันทร์ โดยมีศรีบูรพาเป็นผู้ผลักดัน จากนั้นฟ้าบ่กั้นก็ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยอาจารย์ดำเนิน พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ออกซ์ฟอร์ด
"ผมตั้งสำนักพิมพ์เกวียนทอง และพิมพ์ฟ้าบ่กั้นในปี 2501 เป็นปีที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหาร ใช้กฎหมายมาตรา 17 ประหารชีวิตคนอย่างมันมือ เมื่อหนังสือฟ้าบ่กั้นถูกจับตาว่าเนื้อหาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ก็ได้มาลัย ชูพินิจ นักเขียนนักหนังสือพิมพ์ช่วยเคลียร์กับ พล.ต.อ.พจน์ เภกะนันทน์ ผู้บังคับการสันติบาลในขณะนั้น ท่านว่าให้เอาออกจากแผงหนังสืออย่าให้ประเจิดประเจ้อ จนต้องเก็บมากองทิ้งไว้ที่บ้าน"
หนังสือฟ้าบ่กั้นถูกนำกลับมาพิมพ์อีกครั้ง โดยสำนักพิมพ์ศึกษิตสยามในปีพ.ศ.2512 และถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวางเมื่อ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในขณะนั้นก่อตั้งมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย สนับสนุนให้นักศึกษาที่สนใจสังคมชนบทลงพื้นที่เรียนรู้ โดยมีหนังสือฟ้าบ่กั้นเสมือนคู่มือติดตัวไปด้วย
จวบจนผ่านเหตุการณ์ขับไล่จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อ 14 ตุลา 2516 ลุงคำสิงห์ได้รับเลือกให้เป็นรองประธานพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย โดยมี ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน มิตรสหายรุ่นน้องเป็นเลขาธิการพรรค ร่วมกันก่อตั้งในปีพ.ศ.2517
จนกระทั่งขบวนการสังคมนิยมเริ่มเติบโต ย่างเข้าปีพ.ศ.2519 ฝ่ายอนุรักษนิยมล้าหลัง เริ่มจับจ้องคล้ายดั่งเงาตามตัว รุนแรงถึงขั้นไล่ล่า และฆ่าผู้นำความคิดฝ่ายประชาธิปไตย
บ้านของลุงคำสิงห์ก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ถูกใส่ร้ายว่าเป็นที่ซ่องสุมคอมมิวนิสต์
"สิ่งที่ผมสะเทือนใจเวลาคิดถึงบุญสนอง คือ สองสัปดาห์ก่อนเขาจะถูกยิงตาย เขามาหาผมที่ไร่นี้แล้วคลี่รายชื่อผู้ที่ถูกสั่งตายให้ดู ในรายชื่อต้นๆ มีตัวเขากับอาจารย์ป๋วย ส่วนชื่อผมห่างลงไปอีก 2-3 ชื่อ เขาหน้าซีดเซียวบอกพี่คำสิงห์ครับ ผมอยากเข้าป่าถ้าอยู่ต่อไปคงตายแน่
ผมบอกบุญสนองว่าใจเย็นๆ คนไม่ใช่เป็ดไก่จะฆ่าแกงกันง่ายๆ นายเป็นสุจริตชนไม่มีใครทำอะไรหรอก เขาเชื่อผมและกลับกรุงเทพฯ ไป พอทราบข่าวว่าถูกยิงผมเศร้าสลดมาก" ลุงคำสิงห์พูดจบแล้วลุกเดินไปหยิบภาพข่าวในช่วงเหตุการณ์ล้อมฆ่า 6 ตุลา 19 มาให้ดู แล้วเล่าว่าปัจจุบันนี้การใส่ร้ายป้ายสีประชาชนว่าเป็นพวกก่อการร้ายก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม
"มีภาษาไทยเพิ่งเกิดขึ้นในภาษากฎหมาย คือคำว่า ขยายผล การพูดในที่สาธารณะจะพูดครึ่งๆ กลางๆ ไม่ได้ เหมือนพูดเสื้อดำเผาบ้านเผาเมือง เกิดจากการขยายผล พูดคะนองปาก"
ลุงคำสิงห์ลี้ภัยไปอยู่สวีเดนหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 และกลับมาเมืองไทยอีกครั้งในปีพ.ศ.2524 ติดตามความเคลื่อนไหวทางสังคม ตั้งแต่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ถึงรัฐ ประหาร 19 กันยาฯ 2549
จนถึงเหตุการณ์ปราบปรามคนเสื้อแดงครั้งแรกในเดือนเม.ย.2552 ที่สามเหลี่ยมดินแดง กระทั่งล่าสุดเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค. 2553
โดยลุงคำสิงห์ได้ร่วมลงชื่อกับนักเขียน รุ่นน้อง อาทิ วัฒน์ วรรลยางกูร, ไม้หนึ่ง ก.กุนที, วาด รวี และวรพจน์ พันธุ์พงศ์ เพื่อต่อต้านการปราบปรามของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
และเมื่อกลุ่มนิติราษฎร์ได้นำเสนอร่างแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ออกสู่สังคมในปีพ.ศ.2554 เนื่องจากขัดกับหลักการประชาธิป ไตย และถูกนำมาใช้กลั่นแกล้งทางการเมือง จนมีประชาชนได้รับผลกระทบ ลุงคำสิงห์ก็ร่วมลงชื่อสนับสนุนแก้ไขกฎหมายนี้ในนาม "คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112" หรือ ครก.112 ด้วย
"ไม่นานนี้มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองคนหนึ่ง มาหาผม เขาถามถึงทางออกจากวิกฤตความขัดแย้งในปัจจุบัน ผมบอกท่านไปว่าผมเชื่อว่าความเป็นประชาธิปไตยจะช่วยให้ผ่านพ้นปัญหาที่รุมเร้าไปได้"
เป็นคำตอบของ "คำสิงห์ ศรีนอก" นักเขียนฝ่ายประชาธิปไตย
No comments:
Post a Comment
เชิญแชร์ความคิดเห็นที่นี่ค่ะ