รอยมลทินของระบอบยุติธรรมในประเทศไทย
มุมมองของนักข่าวต่างชาติที่มีต่อระบบของกฎหมายในประเทศไทย จุดด้อยที่เห็นได้ชัด ก็คือ การคอร์รัปชั่นของตำรวจไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้ องค์กรคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภาคพื้นเอเซีย ได้รายงานไว้ในหลายกรณีของคดีอาชญากรรมว่า "มีการวางแผนให้ร้ายต่อผู้บริสุทธิ โดยการแลกด้วยเงินหรือของกำนัล"
พัทยาเดลินิวส์ อยากให้ผู้อ่านได้พิจารณา บทความที่เขียนโดยนักข่าวชาวอเมริกันรายหนึ่งที่โพสต์ลงใน Tribune News Service เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งมีเนื้อหาค่อนข้างตรงไปตรงมา ให้ข้อคิดหลากหลาย เนื้อหาของข่าวมีดังนี้
กรุงเทพ ฯ – ประเทศไทย -เป็นเวลาหลายปี ในฐานะนักเขียนข่าวหนังสือพิมพ์คนหนึ่ง ที่ได้ถูกขนานนามว่าเป็นผู้ที่รายงานข่าวของตำรวจอย่างตรงไปตรงมา ผู้ต้องหาในการกระทำความผิดรายหนึ่ง ได้ถูกนำออกมาจากห้องขังของกองบัญชาการกรมตำรวจ เพื่อรอให้รถมารับไปยังศาลเกี่ยวกับคดีที่เขาถูกกล่าวหา
ช่างภาพ มากมายต่างรอถ่ายภาพของผู้ต้องหารายนี้ในทันทีที่เขาเดินออกจากประตูทางด้าน หลัง คุณคงจะได้เห็นภาพเหล่านั้นแล้วว่า ผู้ต้องหาได้ดึงเสื้อคลุมขึ้นมาคลุมหัวและมองลงไปที่พื้นของถนน เพื่อไม่ให้เห็นหน้าได้ชัดในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในวันรุ่งขึ้น
สำหรับตัวผมเอง มันดูเหมือนว่าจะเป็นลักษณะเฉพาะของธรรมเนียมคนอเมริกัน จนกระทั่งผมได้เห็นว่าในประเทศไทยก็มีวิธีการเช่นเดียวกัน ซึ่งการกระทำเช่นนั้นไม่ค่อยมีใครพูดถึง หรือคิดว่ามันเป็นเรื่องประหลาดแต่อย่างใด
เมื่อใดก็ตาม ที่ผู้ต้องหาถูกจับในคดีอาชญากรรม มันน่าแปลกใจที่พวกเขาส่วนใหญ่มักจะสารภาพผิด และเขาก็ถูกนำตัวไปยังสถานที่เกิดเหตุเพื่อทำแผนอาชญากรรมประกอบคำสารภาพ เกือบจะในทันที นักข่าวหนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ จะถูกเชิญให้มาทำข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นท่ามกลางผู้คนที่มามุงดูอย่าง มากมาย ผู้ที่รับสารภาพผิดซึ่งขณะนี้ตกเป็นฆาตรกรจะถูกถ่ายภาพ โดยถือมีดปลอมทำท่ากำลังแทงลงไปที่หัวใจของเหยื่อตัวแทนที่สร้างขึ้นมา กล้องหลายตัวก็จะทำการบันทึกภาพการแสดง พร้อมทั้งมีไมโครโฟนเพื่อบันทึกเสียง และภาพถ่ายเหล่านั้นก็จะถูกแพร่ออกไปทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ทั่วประเทศ
ใน ข่าวได้เขียนไว้ว่า “ผู้ต้องหา 2 รายได้สารภาพผิด และได้ถูกนำตัวไปยังสถานที่เกิดเหตุเพื่อทำแผนอาชญากรรมอันสยองขวัญเพื่อ ประกอบคำสารภาพ เมื่อบ่ายของวันที่ 6 กรกฎาคม”
ผมได้ถาม พลตำรวจตรี ท่านหนึ่ง(ขอสงวนนาม-พัทยาเดลินิวส์) ว่าทำไมตำรวจจำเป็นต้องทำแผนอาชญากรรมเช่นนั้นด้วย ท่านได้ตอบผมว่า “เราต้องให้ประชาชนได้ทราบว่า อาชญากรรมนั้นเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย และเราต้องทำให้ทุกคนปฎิบติตาม”
ผมถามต่อว่า – มันจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อผู้ต้องหาได้รับสารภาพ และได้ทำแผนประกอบคำสารภาพไปแล้ว แต่ผลปรากฏว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ “ไม่ใช่ในประเทศไทย” ท่านยืนยันในคำตอบโดยกัดกรามแน่น “พวกเขารู้ว่าบทลงโทษเป็นเรื่องสำคัญมาก”
อย่างไรก็ดี ในประเทศอื่นนั้น การรับสารภาพเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน องค์กรคุ้มครองผู้บริสุทธิ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะใช้พยานหลักฐานทาง DNA เพื่อพิสูจน์ว่าบุคคลนั้นกระทำความผิดจริงหรือไม่ จากโครงการวิจัยใน 16 ปีที่ผ่านมาได้ให้ข้อสรุปว่า พยานหลักฐานทาง DNA แสดงให้เห็นว่า ใน 25 เปอร์เซ็นของผู้ที่รับสารภาพหรือผู้ถูกตัดสินว่าผิดในคดีอาชญากรรมเป็นผู้ บริสุทธิ์อย่างไม่มีข้อโต้แย้ง องค์การนี้ ได้ให้คำอธิบายในหลายกรณีว่า ผู้ต้องหาอาจถูกบีบบังคับ เมา ไม่มีปฏิสัมปะชัญญะ ไม่รู้กฎหมาย กลัวเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ เหน็ดเหนื่อยกับการถูกไต่สวนอย่างก้าวร้าวเป็นเวลาหลายชั่วโมง แน่ นอน มาตรฐานของอเมริกันไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่นได้ ระบบของอเมริกันเองก็มีจุดด้อยมากมายอย่างเห็นได้ชัด แต่มันก็เป็นประโยชน์ที่ได้เห็นว่าในประเทศอื่นนั้นมีการจัดการด้านกฎหมาย แตกต่างออกไปอย่างไร |
ทาง องค์กรมักจะพบหลักฐานว่า “มีการทรมานเพื่อให้รับสารภาพ” และตำรวจเองก็ต้องการ “ให้มีการรับสารภาพที่ไม่ได้มาจากการสอบสวนตามปรกติวิสัย” ทั้งนี้เพื่อให้งานง่ายขึ้น
ผมไม่อาจจะรับประกันความคิดและมุมมอง ของกลุ่มสิทธิมนุษยชนกลุ่มนี้ แต่จากหลายปีที่ได้ทำงานอยู่ที่นี่ ผมได้รู้ว่าเหนือสิ่งอื่นใดการคอร์รัปชั่นของตำรวจไทยเป็นเรื่องปรกติ ซึ่งพลตำรวจตรี ท่านนั้น ก็ได้บอกผมไว้อย่างนั้น แล้วท่านจะแน่ใจได้อย่างไรว่าผู้บริสุทธิ์จะไม่เคยสารภาพ ?
เป็นไป ได้อย่างไรว่า ประเทศที่มีประชาธิปไตยอย่างประเทศไทยต้องมีมลทิน เมื่อประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้ตำรวจพาผู้ต้องหาออกมาแสดงโชว์ต่อหน้าสื่อและ สาธารณชน แน่นอนว่าพวกเขาบางคนอาจเป็นผู้บริสุทธิ์ก็ได้ ตราบใดที่เขาถูกแถลงในข่าวทีวี ทำท่ากำลังใช้ปืนยิงไปที่เหยื่อที่สร้างขึ้น ตราบนั้นเขาก็จะตกเป็นผู้กระทำผิดตลอดไปไม่ว่าเขาจะผิดจริงหรือไม่ และไม่สำคัญว่าความเป็นจริงหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร อ่านต้นฉบับข่าวภาษาอังกฤษที่นี่
อ่าน แล้วต้องตั้งคำถามถามตนเองในฐานะสื่อว่า มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ และเราก็ต้องรายงานข่าวแบบเดิม ๆ นี้ต่อไป เพราะมันเป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกมานานแล้ว หรือว่าเราจะต้องหันมาทบทวนบทบาทตัวเองกันใหม่ ในฐานะสื่อ
ประเภท : จดหมายถึง บก. ข่าว : วารีนา ปุญญาวัณน์ ภาพ : pattaya daily news |